Musical & Musical instrument


Amy Lee & Piano

Musical & Musical instrument


Acustic Guitar
violin
piano
tamborine
Stringed Instruments





clarinet
Bass
learning electric guitar
Electric Guitar

drums


flute
Trumpets
Trumpets
กีตาร์ไฟฟ้า
Electric Guitar
Guitar Classicality


Clas sicality Guita
Music Stand
Music Stand


เปียโนดิจิตอล
Digital Piano
Miniature เครื่องดนตรี
MiniatureMusical
Mini เครื่องดนตรี
Mini Musical
เด็ก Purpose เปียโนแนว
Children Purpose Horizontal
กีตาร์ไฟฟ้า

Electric Guitars

หมายถึงเพลง

Music Stands



เสียงทุ้ม
Bass

เครื่องดนตรี

เครื่องดนตรี คือ อุปกรณ์ที่สร้างขึ้นมา หรือปรับจากอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อใช้งานสำหรับการผลิตเสียงดนตรี หรือสร้างเสียงสำหรับใช้ประกอบในการร้องรำทำเพลง โดยหลักการแล้ว อุปกรณ์ใดก็ตามที่สามารถนำมาใช้ผลิตเสียงดนตรี ย่อมเรียกว่า เครื่องดนตรี ได้ทั้งสิ้น ผู้ที่ใช้เครื่องดนตรีนั้น เราเรียกว่า นักดนตรี

ยุคของดนตรีตะวันตก

  • Polyphonic Period เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1200 ถึงปี ค.ศ. 1650ยุคนี้นับว่าเป็นยุคแรกและได้วิวัฒนาการมาเรื่อยๆ จนมีแบบฉบับและหลักวิชาการดนตรีขึ้น มีวงดนตรีอาชีพ ตามโบสถ์ ตามบ้านเจ้านาย และมีโรงเรียนสอนดนตรี
  • Baroque Period เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1650 ถึงปี ค.ศ. 1750ยุคนี้วิชาดนตรีได้เป็นปึกแผ่นมีแบบแผนความเจริญทางด้านนาฏดุริยางค์ (Dramatic Music) มีมากขึ้น ยุคนี้มีสอนเกี่ยวกับอุปรากร (Opera) เกิดขึ้น มีนักดนตรีเอกของโลก 2 ท่าน เป็นผู้นำในยุคนี้ คือ J.S.Bach และ G.F.Handel.
  • Classical Period เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1750 ถึงปี ค.ศ. 1820ยุคนี้เป็นยุคที่ดนตรีเริ่มเข้าสู่ยุคใหม่ มีความรุ่งเรืองมากขึ้น มีนักดนตรีเอกของโลก 3 ท่าน เป็นผู้นำยุคนี้คือ Haydn Gluck และ Mozart
  • Romantic Period เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1820 ถึงปี ค.ศ. 1900ยุคนี้มีการใช้เสียงดนตรีที่เน้นถึงอารมณ์อย่างเด่นชัด มี Beethoven และยังมีนักดนตรีเอกของโลกคนอื่นๆ อีก เช่น Schubert Mendelssohn, Schumann, Chopin, Paganini, Liszt, Brahms และ Wagner เป็นต้น ยุคนี้เป็นยุคที่ดนตรีเจริญถึงขีดสุด นับเป็น "ยุคทองของดนตรี"
  • Modern Period เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1900 มาจนถึงปัจจุบันยุคนี้เป็นยุคที่ดนตรีเปลี่ยนแปลงไปมากดนตรีประเภทแจ๊ส (Jazz) กลับมามีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน

องค์ประกอบของดนตรี

  • จังหวะหรือลีลา (rhythm)
  • ระดับเสียง (pitch)
  • ความดัง (volume/ intensity)
  • ทำนองเพลง (melody)
  • การประสานเสียง (harmony)

ประโยชน์ของเสียงดนตรี

  • พัฒนาความคิดสร้างสรรค์
  • พัฒนาด้านอารมณ์
  • พัฒนาด้านภาษา
  • พัฒนาด้านร่างกาย
  • พัฒนาด้านปัญญา
  • พัฒนาด้านความเป็นเอกบุคคล
  • พัฒนาด้านสุนทรีย์

นักดนตรี

       นักดนตรี คือ ผู้เชี่ยวชาญในการเล่นเครื่องดนตรีชนิด ต่างๆเป็นเพลงหรือจังหวะเพื่อสร้างความเพลิดเพลินให้กับผู้ฟัง นักดนตรีเป็นผู้ปฏิบัติเครื่องดนตรีหนึ่งเครื่องหรือมากกว่าหนึ่งเครื่อง ในฐานะผู้บรรเลงเดี่ยว บรรเลงแนวคลอประกอบ หรือเป็นนักดนตรีประจำอยู่ในวงดุริยางค์ วงแบนด์ หรือกลุ่มดนตรีประเภทต่างๆ นักดนตรีจะต้องหมั่งฝึกฝน และซ้อมตามบทเพลง รู้วิธีการเทียบเสียงให้ถูกต้องตามระดับเสียงของเครื่องดนตรี เล่นดนตรีด้วยการอ่านโน้ต หรือการจำ เช่น นักเปียโน นักกีตาร์ นักไวโอลิน นักเชลโล ฯลฯ
กีตาร์ (Guitar)
     กีตาร์ (อังกฤษ: Guitar) เป็น เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง จัดเป็นพวกเครื่องสาย มักจะเล่นด้วยนิ้วมือซ้าย และดีดด้วยนิ้วมือขวาหรือใช้ปิ๊กดีดกีตาร์ เสียงของกีตาร์นั้นเกิดจากการสั่นสะเทือนของสาย ทำให้เกิดกำทอน (resonance) แก่ตัวกีตาร์และคอกีตาร์
     กีตาร์นั้น มีทั้งแบบกีตาร์อะคูสติก และกีตาร์ไฟฟ้า บางตัวก็เป็นได้ทั้งสองอย่าง กีตาร์มีส่วนตัวเป็นกล่องกำทอน ซึ่งในกีตาร์อะคูสติกจะเจาะเป็นช่อง ส่วนกีตาร์ไฟฟ้ามักจะตัน และมีโพรงในส่วนคอกีตาร์ โดยทั่วไปแล้วส่วนหัวของกีตาร์จะยืดขึ้นไปจากคอ เพื่อใส่ลูกบิดหมุนสายสำหรับปรับเสียง
     กีตาร์เป็นเครื่องดนตรีที่นิยมใช้แพร่หลาย และ ใช้กับดนตรีหลากหลายสไตล์ นับเป็นเครื่องดนตรีที่นิยมใช้บรรเลงเดี่ยวอย่างกว้างขวางที่พบเห็นมากที่ สุดคือกีตาร์คลาสสิก และยังเป็นเครื่องดนตรีหลักในวงดนตรีประเภทบลูส์ และดนตรีร็อกอีกด้วย กีตาร์สามารถเล่นในยามว่าง หรือ เป็นงานอดิเรก ได้ดี
ปกติกีตาร์จะมี 6 สาย แต่แบบ 4- 7- 8- 10- 12- สายก็มีเช่นกัน ผู้ประดิษฐ์กีตาร์จะเรียกว่า luthier

เนื้อหา

1 ประวัติ
2 ประเภทของกีตาร์
     2.1 กีตาร์โปร่ง หรือ อะคูสติกกีตาร์
     2.2 กีตาร์ไฟฟ้า
3 ส่วนประกอบของ อะคูสติคกีตาร์

    ประวัติ

        เครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายกีตาร์เป็นที่นิยมมากว่า 5,000 ปีเป็นอย่างต่ำ โดยเริ่มเป็นที่นิยมในแถบเอเชียกลาง เรียกว่าซิตาร่า (Sitara) เครื่องดนตรีที่มีรูปแบบคล้ายคลึงกีตาร์ที่เก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบมีอายุ 3,300 ปี เป็นหินสลักของกวีอาณาจักรโบราณฮิตไตต์
    คำ ว่ากีตาร์มาจากภาษาสเปนคำว่า guitarra ซึ่งมาจากภาษากรีกอีกทีคือคำว่า Kithara kithara จากหลายแหล่งที่มาทำให้คำว่ากีตาร์น่าจะมีรากศัพท์มาจากภาษาตระกูลอินโดยูโร เปียน guit- คล้ายกับภาษาสันสกฤต ที่แปลว่า ดนตรี และ -tar หมายถึง คอร์ด หรือ สาย คำว่า qitara เป็นภาษาอาราบิก ใช้เรียก Lute lute ส่วนคำว่า guitarra เกิดขึ้นเมื่อเครื่องดนตรีชนิดนี้ถูกนำมาที่ Iberia (หรือ Iberian Peninsular เป็นคาบสมุทรทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ในทวีปยุโรป) โดย Moors
         กีตาร์ในยุคปัจจุบัน มาจากเครื่องดนตรีที่เรียกว่า cithara ของชาวโรมัน ซึ่งนำเข้าไปแพร่หลายในอาณาจักรฮิสปาเนีย หรือสเปนโบราณ ประมาณ ค.ศ. 40 จากนั้นเปลี่ยนแปลงรูปแบบจนกลายมาเป็น เครื่องดนตรีที่มี 4 สายเรียกว่า อู๊ด (oud) นำเข้ามาโดยชาวมัวร์ในยุคที่เข้ามาครอบครองคาบสมุทรไอบีเรียนไวกิ้ง ใน ศตวรรษที่ 8 ส่วนในยุโรปมีเครื่องดนตรีที่เรียกว่า ลุต (lute) ของชาวสแกนดิเนเวียมี 6 สาย ในสมัย ค.ศ. 800 เป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมในกลุ่มชาว
         ค.ศ. 1200 กีตาร์ 4 สาย มี 2 ประเภท คือ กีตาร่า มอ ริสกา หรือกีตาร์ของชาวมัวร์ มีลักษณะกลม ตัวคอกว้าง มีหลายรู กับกีตาร่า ลาติน่า ซึ่งรูปร่างคล้ายกีตาร์ในปัจจุบัน คือมีรูเดียวและคอแคบ ในศตวรรษที่ 16 เครื่องดนตรีคล้ายกีตาร์ของชาวสเปน ที่เรียกว่าวิฮูเอล่า เป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกีตาร์ในปัจจุบัน มีความผสมผสานระหว่างเครื่องดนตรีอู๊ดของชาวอาหรับและลูตของยุโรป แต่ได้รับความนิยมในช่วงสั้น ๆ พบเห็นจนถึงปี 1576
    เครื่อง ดนตรีชิ้นแรกที่มีรูปลักษณ์เหมือนกีตาร์ในปัจจุบัน เกิดในช่วงยุคปลายของสมัยกลางหรือยุคต้นสมัยเรอเนสซอง (500 กว่าปีที่แล้ว) เป็นช่วงที่มีการใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายกันทั่วโลก ในยุคนั้นกีตาร์มีทั้งแบบ 4 และ 5 สาย สำหรับกีตาร์ที่มี 6 สาย ระบุว่ามีขึ้นในปี 1779 เป็นผลงานของนายแกตาโน วินาซเซีย (Gaetano Vinaccia) ในเมืองเนเปิล อิตาลี แต่ก็ถกเถียงกันว่าอาจเป็นของปลอมสำหรับตระกูลวินาซเซียมีชื่อเสียงในการ ผลิตแมนโดลินมาก่อน
    กีตาร์ ไฟฟ้าตัวแรกเริ่มผลิตขึ้นในศตวรรษที่ 20 โดยจอร์จ โบแชมป์ (George Beauchamp) ได้รับสิทธิบัตรในปี 1936 และร่วมกับ ริกเค่นแบ็กเกอร์ (Rickenbacker) ตั้งบริษัท Electro String Instrument ผลิตกีตาร์ไฟฟ้าในช่วงปลายปีทศวรรษที่ 1930 ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1960 จอห์น เลนนอน สมาชิกวงเดอะบีทเทิลส์ใช้ กีตาร์ยี่ห้อนี้ ส่งผลให้เครื่องดนตรียี่ห้อนี้มีชื่อเสียงในกลุ่มนักดนตรีในยุคนั้น และในปัจจุบันบริษัทริกเค่นแบ็กเกอร์ เป็นบริษัทผลิตกีตาร์ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา

    ประเภทของกีตาร์

    กีตาร์โปร่ง หรือ อะคูสติกกีตาร์

    Renaissance guitars
    มีขนาดเล็กกว่ากีตาร์คลาสสิก และให้เสียงที่เบากว่ามาก
    Classical guitars
    กีตาร์คลาสสิก ถือเป็นต้นแบบกีตาร์ในยุคปัจจุบัน มีลูกบิดและแกนพันสายเป็นพลาสติก มีคอหรือฟิงเกอร์บอร์ดขนาดใหญ่ประมาณ 2 นิ้ว ลักษณะแบนราบ สายที่1 และ2 เป็นสายไนล่อน
    Portuguese guitar
    มี 12 สาย ใช้กับเพลงพื้นเพลงชื่อ Fado ในประเทศโปรตุเกส
    Flat-top (steel-string) guitars
    มีขนาดใหญ่กว่ากีตาร์คลาสสิก และเสริมความแข็งแรงที่คอ เพื่อรองรับแรงตึงของสาย ให้เสียงที่ใสและดังกว่า สายที่ใช้ สาย1และ2 มีลักษณะเป็นเส้นลวดเปลือย สายที่3-6 เป็นเส้นลวดและมีขดลวดเล็กๆพันเป็นเกลียวเพื่อเพิ่มขนาดของสาย
    Archtop guitars
    ด้านหน้าจะโค้ง โพรงเสียงไม่เป็นช่องกลม สะพานยึดสายด้านล่างมักเป็นแบบหางปลา นิยมใช้เล่นในดนตรีแจ๊ส
    Resonator
    หรือ Resophonic หรือ dobro คล้ายกับกีตาร์ Flat-top
    12 string guitars
    นิยมใช้ใน folk music, blues และ rock and roll มีสายโลหะ 12 สาย
    Russian guitars
    มี 7 สาย พบในรัสเซีย และ บางประเทศที่แยกจากสหภาพโซเวียตเท่านั้น
    Acoustic bass guitars
    เป็นกีตาร์เบสในรูปแบบอคูสติก มีสายและเสียงเหมือนกัน โน้ตที่เล่นจะใช้ "กุญแจฟา" ให้เสียงทุ้มต่ำ นุ่มนวล
    Tenor guitars
    มี 4 สาย
    Harp guitars
    จะมีสาย harp เพิ่มขึ้นมา จากปกติที่มี 6 สาย สาย harp จะให้เสียงต่ำหรือเสียงในช่วงเบส ปกติจะไม่มีฟิงเกอร์บอร์ดหรือเฟร็ต
    Guitar battente
    มีขนาดเล็กกว่ากีตาร์คลาสสิก นิยมใช้เล่นกับเครื่องสายอีก 4-5 ชิ้น

    กีตาร์ไฟฟ้า

    แบ่งตามโครงสร้างของลำตัวกีต้าร์ (Body) อาจแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ
    กีต้าร์ตัวตัน (Solid Body)
    หมายถึง กีต้าร์ไฟฟ้าปกติ ที่ลำตัวมีลักษณะตัน ไม่มีการเจาะช่องในลำตัวกีต้าร์เหมือนอย่างกีตาร์โปร่ง หรือ อะคูสติกกีตาร์ แต่บริเวณลำตัวจะมีตัวรับสัญญาณแรงสั่นสะเทือนของสายกีต้าร์ (Pick Up) ขณะที่ดีด เพื่อส่งต่อไปยังเครื่องขยายเสียง (Amplifier) ต่อไป โดยทั่วไป ตัวรับสัญญาณจะมี 2 ประเภท คือ ตัวรับสัญญาณแบบแถวเดี่ยวที่เรียกว่า Single Coil และแบบแถวคู่ที่เรียกว่า Humbucker
    กีต้าร์ลำตัวกึ่งโปร่ง (Semi-Hallow Body)
    เป็นกีต้าร์ไฟฟ้าที่มีลักษณะโครง สร้างส่วนกลางของลำตัวในแนวเดียวกับคอ กีต้าร์ มีลักษณะตัน (แต่มีการเจาะช่องเพื่อใส่ตัวรับสัญญาณแรงสั่นสะเทือนของสายกีต้าร์ (Pick Up) เช่นเดียวกับกีต้าร์ตัวตัน) บริเวณส่วนข้างของกีต้าร์มีการเจาะช่อง (Sound Hole) เอาไว้เพื่อให้เกิดการกำทอนของเสียงมากกว่ากีต้าร์ตัวตัน ซึ่งจะให้เสียงที่เป็นอคูสติกมากขึ้น นิยมใช้ในดนตรีแจ๊สหรือบลูส์ เป็นกีต้าร์ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อลดเสียงรบกวนที่เรียกว่าFeed back ซึ่งเกิดจากกีต้าร์ไฟฟ้าลำตัวโปร่ง (กล่าวคือ ยังมีเสียงรบกวนบ้างแต่น้อยลงกว่าเดิม)
    กีต้าร์ลำตัวโปร่ง (Hallow Body)
    กีต้าร์ไฟฟ้าที่มีการเจาะช่องเอา ไว้เพื่อให้เกิดการกำทอนของเสียง (Sound Hole) เช่นเดียวกับกีต้าร์โปร่งหรืออคูสติก และกีต้าร์ลำตัวกึ่งโปร่ง ปกติช่องดังกล่าวมักจะอยู่ด้านข้างของลำตัวกีต้าร์ เนื่องจากบริเวณกลางลำตัวจะมีการใส่ตัวรับสัญญาณแรงสั่นสะเทือนของสายกีต้า ร์ (Pick Up) เช่นเดียวกันกับกีต้าร์ตัวตัน ซึ่งผลของการที่มีช่องกำทอนเสียง ทำให้ลักษณะของเนื้อเสียงที่ได้เป็นอคูสติกมากกว่า กีต้าร์ Semi-Hallow Body แต่หากขยายเสียงให้ดังมากจะก่อให้เกิดเสียงรบกวนที่เรียกว่า Feed back กีต้าร์ประเภทนี้มักจะนิยมใช้กับดนตรีแจ๊สหรือบลูส์เป็นส่วนใหญ่

    ส่วนประกอบของ อะคูสติคกีตาร์

    ไม้ข้าง และไม้หลัง หรือ back & side ของ acoustic guitar
    เมื่อเทียบกับประเภทของไม้ที่ถูกนำมา ใช้ด้านหน้าของกีต้าร์แล้ว ไม้ที่ถูกนำมาใช้เป็นแผ่นหลังและข้างนั้น มีมากมายหลายชนิดกว่า อาจแบ่งออกกว้างๆ เป็นตระกูล Rosewood, Walnut, Maple, Koa, Mahogany รวมไปถึงไม้แปลกๆ ใหม่ๆ ที่กำลังเป็นที่นิยม และพวกที่ยังไม่ค่อยแพร่หลายนัก เพื่อความสะดวกและเข้าใจได้ง่าย ผู้เขียนจะแบ่งประเภทของไม้ออกเป็นจำพวกคร่าว ๆ ดังนี้
    1. Rosewood
    2. Mahogany
    3. Koa
    4. Maple
    5. Walnut
    6. Ziricote (Cordia Dodecandra)
    7. Macassar Ebony (Diospyrus Celebica)
    8. Myrtewood
    9. African Blackwood
    10. African Paduk
    11. Imbuia
    12. Cherry
    ไม้หน้า หรือ Top ของ Acoustic Guitar
    1. Sitka Spruce
    2. Englemann Spruce
    3. Red Spruce
    4. German Spruce
    5. Alpine Spruce
    6. Cedar
    7. Port Orford Cedar
    8. Redwood
    9. Western Larch

    เพิ่มเติม เกี่ยวกับ : โน้ตดนตรี

    'A' (PSF).pngโน้ตดนตรี หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า โน้ต มีความหมายได้สองทาง หมายถึงสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการนำเสนอระดับเสียง (pitch) และความยาวของเสียงใน ทางดนตรี หรือหมายถึงตัวเสียงเองที่เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์เหล่านั้น โน้ตดนตรีแต่ละเสียงจะมีชื่อเรียกประจำของมันเองในแต่ละภาษา เช่น โด-เร-มี-ฟา-ซอล-ลา-ที บางครั้งอาจเขียนอักษรละติน A ถึง G แทนโน้ตดนตรี

    เนื้อหา

    • 1 ชื่อโน้ตดนตรี
    • 2 ชื่อเรียกตัวโน้ตในบันไดเสียงไดอาโทนิก
    • 3 ตัวโน้ตที่ใช้เขียน
    • 4 ความถี่ของโน้ต

    ชื่อโน้ตดนตรี

    ลิ่มนิ้วสีขาวแสดงเสียงหลักเจ็ดเสียง ส่วนสีดำคือครึ่งเสียงของเสียงหลัก


    เสียงต่างๆ I
    II
    III IV
    V
    VI
    VII
    เนเชอรัล C
    D
    E F
    G
    A
    B
    ชาร์ป
    C
    D

    F
    G
    A
    แฟลต
    D
    E

    G
    A
    B

    เนเชอรัล (ยุโรปเหนือ) C
    D
    E F
    G
    A
    H
    ชาร์ป (ยุโรปเหนือ)
    Cis
    Dis

    Fis
    Gis
    Ais
    แฟลต (ยุโรปเหนือ)
    Des
    Es

    Ges
    As
    B
    ชื่ออื่นๆ (ยุโรปเหนือ) - - - - - - - - - - Bes B

    ยุโรปใต้, ชื่อไทยที่นิยม Do
    Re
    Mi Fa
    Sol
    La
    Si
    ชื่ออื่นๆ Ut
    -
    - -
    So
    -
    Ti
    แบบอินเดีย Sa
    Re
    Ga Ma
    Pa
    Da
    Ni
    แบบเกาหลี Da
    Ra
    Ma Ba
    Sa
    Ga
    Na
    ความถี่เสียงโดยประมาณ (เฮิรตซ์) 262 277 294 311 330 349 370 392 415 440 466 494
    หมายเลขโน้ต MIDI 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71

    ชื่อเรียกตัวโน้ตในบันไดเสียงไดอาโทนิก

    • โน้ตตัวที่ 1 เรียกว่า โทนิก (Tonic)
    • โน้ตตัวที่ 2 เรียกว่า ซุปเปอร์โทนิก (Supertonic)
    • โน้ตตัวที่ 3 เรียกว่า มีเดียน (Mediant)
    • โน้ตตัวที่ 4 เรียกว่า ซับโดมิแนนท์ (Subdominant)
    • โน้ตตัวที่ 5 เรียกว่า โดมิแนนท์ (Dominant)
    • โน้ตตัวที่ 6 เรียกว่า ซับมีเดียน (Submediant)
    • โน้ตตัวที่ 7 เรียกว่า ลีดดิ้งโน้ต หรือลีดิ้งโทน (Leading note or Leading tone)

    ตัวโน้ตที่ใช้เขียน

          ตัวโน้ตหนึ่งตัวที่ใช้สำหรับบันทึกบทเพลงจะมีค่าของโน้ตหนึ่งค่า นั่นคือระยะเวลาในการออกเสียงของตัวโน้ต เช่น ตัวดำ ตัวเขบ็ตหนึ่งชั้น เป็นต้น เมื่อตัวโน้ตต่างๆ ถูกเขียนลงบนบรรทัดห้าเส้น ตัวโน้ตแต่ละตัวจะถูกวางไว้บนตำแหน่งที่แน่นอนตามแนวตั้ง (คาบเส้นบรรทัดหรือระหว่างช่องบรรทัด) และกำหนดระดับเสียงที่แน่นอนด้วยกุญแจประจำหลัก เส้นแต่ละเส้นและช่องว่างแต่ละช่องถูกตั้งชื่อตามเสียงของโน้ต ซึ่งชื่อเหล่านี้เป็นที่จดจำโดยนักดนตรี ทำให้นักดนตรีทราบได้ว่าจุดใดควรจะเล่นเครื่องดนตรีด้วยระดับเสียงใด ตามตำแหน่งหัวของโน้ตบนบรรทัด ตัวอย่างเช่น
    บันไดเสียง C major
         บรรทัดห้าเส้นด้านบนแสดงให้เห็นถึงเสียงโน้ต C, D, E, F, G, A, B, C ตามตัวโน้ตที่วางอยู่บนตำแหน่งต่างๆ แล้วจากนั้นไล่ระดับเสียงลง โดยไม่มีเครื่องหมายตั้งบันไดเสียงหรือเครื่องหมายแปลงเสียง

    ความถี่ของโน้ต

        ในทางเทคนิค ดนตรีสามารถสร้างขึ้นได้จากโน้ตที่มีความถี่ของเสียงใดๆ ก็ได้ เนื่องจากเสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุและวัดได้ในหน่วยเฮิรตซ์ (Hz) ซึ่ง 1 เฮิรตซ์เท่ากับการสั่นครบหนึ่งรอบต่อวินาที ตั้งแต่สมัยก่อนมีเพียงโน้ตที่มีความถี่คงตัวแค่ 12 เสียงเท่านั้นโดยเฉพาะดนตรีตะวันตก ซึ่งความถี่เสียงคงตัวเหล่านี้มีความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ต่อกัน และถูกนิยามไว้ที่โน้ตตัวกลาง A4 (เสียงลา อ็อกเทฟที่สี่) ซึ่งเป็นสาเหตุที่เสียงลาเริ่มต้นเขียนแทนด้วยอักษร A ปัจจุบันโน้ต A4 มีความถี่อยู่ที่ 440 เฮิรตซ์ (ไม่มีเศษทศนิยม)
         หลักการตั้งชื่อโน้ตจะระบุเป็นอักษรละติน เครื่องหมายแปลงเสียง (ชาร์ป/แฟลต) และหมายเลขอ็อกเทฟตามลำดับ โน้ตทุกตัวจะมีเสียงสูงหรือต่ำกว่า A4 เป็นจำนวนเต็ม n ครึ่งเสียง นั่นหมายความว่าโน้ตที่มีเสียงสูงกว่า n จะเป็นจำนวนบวก หากเสียงต่ำกว่า n จะเป็นจำนวนลบ ความถี่ f ของโน้ตตัวอื่นเมื่อเทียบกับโน้ต A4 จึงมีความสัมพันธ์ดังนี้
    f = 2^{(n/12)} \times 440 \mbox{ Hz}
    ตัวอย่าง เช่น เราสามารถคำนวณหาความถี่ของโน้ต C5 ซึ่งเป็นโน้ต C ตัวแรกที่อยู่สูงกว่า A4 และโน้ตดังกล่าวมีระดับเสียงที่สูงกว่า A4 เป็นจำนวน 3 ครึ่งเสียง (A4 → A4 → B4 → C5) จะได้ n = +3 ดังนั้นความถี่ของโน้ต C5 คือ
    f = 2^{(3/12)} \times 440 \mbox{ Hz} \approx 523.2511 \mbox{ Hz}
    หรืออย่างโน้ตที่มีระดับเสียงต่ำกว่า A4 เช่น โน้ต F4 มีระดับเสียงต่ำกว่า A4 เป็นจำนวน 4 ครึ่งเสียง (A4 → A4 → G4 → G4 → F4) จะได้ n = −4 ดังนั้นความถี่เสียงของ F4 คือ
    f = 2^{(-4/12)} \times 440 \mbox{ Hz} \approx 349.2290 \mbox{ Hz}
    และสุดท้าย สูตรดังกล่าวสามารถใช้เปรียบเทียบความถี่ของโน้ตชื่อเดียวกันแต่ต่างอ็อกเทฟได้ ซึ่ง n จะกลายเป็นพหุคูณของ 12 ถ้ากำหนดให้ k เป็นจำนวนอ็อกเทฟส่วนต่างที่มากกว่าหรือน้อยกว่า A4 เช่นโน้ต A5 จะได้ k = +1 หรือโน้ต A2 จะได้ k = −2 เป็นต้น สามารถลดรูปสูตรได้เหลือเพียง
    f = 2^{(12k/12)} \times 440 \mbox{ Hz} = 2^k \times 440 \mbox{ Hz}
    ทำ ให้เกิดผลว่า สำหรับโน้ตที่ชื่อเดียวกันในหนึ่งช่วงอ็อกเทฟ โน้ตในระดับสูงกว่าจะมีความถี่เป็นสองเท่าของโน้ตในระดับต่ำกว่า หรือด้วยอัตราความถี่ 2:1 และหนึ่งช่วงอ็อกเทฟมี 12 ครึ่งเสียง
    นอก จากนี้ความถี่ของเสียงมีการวัดโดยละเอียดเป็นหน่วยเซนต์ (cent) โดยหนึ่งครึ่งเสียงจะมีค่าเท่ากับ 100 เซนต์ นั่นหมายความว่า 1200 เซนต์จะเท่ากับ 1 อ็อกเทฟ และตัวคูณ 1 เซนต์บนความถี่เสียงจะมีค่าเท่ากับรากที่ 1200 ของ 2 หรือเท่ากับประมาณ 1.0005777895
    สำหรับการใช้กับระบบ MIDI มาตรฐาน ความถี่เสียงของโน้ตจะจับคู่กับหมายเลข p ตามสูตรนี้
    p = 69 + 12 \times \log_2{ \left ( \frac{f}{440} \right ) }
    ทำ ให้โน้ต A4 จับคู่อยู่กับโน้ตหมายเลข 69 ในระบบ MIDI และทำให้เติมเต็มช่วงความถี่อื่นๆ ที่ไม่ตรงกับความถี่สากลมาเป็นหมายเลขของโน้ตได้อีกด้วย

    กีตาร์เบส 

        เบส เป็นเครื่องดนตรีประเภท เครื่องสาย ในทางสากลสามารถเรียกได้ทั้ง electric bass (เบสไฟฟ้า) , electric bass guitar (กีตาร์เบสไฟฟ้า) หรือเรียกสั้นๆว่า bass (เบส) ลักษณะของเบสจะมีรูปร่างใหญ่กว่ากีตาร์ มีโครงสร้างของคอที่ใหญ่และยาวกว่า มีย่านความถี่เสียงต่ำ มีหน้าที่โดยหลักๆในการให้จังหวะ คือคุมจังหวะตาม rhythm, line, pattern และ groove ของดนตรี ในขณะเดียวกันก็สามารถขยายระดับความสามารถการเล่นให้สูงขึ้นตามแนวเพลงและ การประยุกต์ใช้ต่างๆ เช่น เทคนิคการ Slap หรือการตบเบส (รวมไปถึงเทคนิคอื่นที่ใช้ร่วมกันกับการ Slap) ในดนตรี Funk, Jazz และอีกหลายแนว การจิ้มสาย การโซโล่ การเล่น Harmonics การเล่น Picking เป็นต้น

    เบส ไฟฟ้าจัดว่าเป็นเครื่องดนตรีที่ถือกำเนิดหลังเครื่องดนตรีอื่นๆในประเภทวงสต ริงคือสร้างขึ้นหลัง กีตาร์ กลอง คีย์บอร์ดหรือซินธิไซเซอร์ (รายละเอียดจะมีในหัวข้อประวัติของเบส) เครื่องดนตรีประเภทเบสที่ใช้กันในวงดนตรีและแนวต่างๆก็จะมี เบสไฟฟ้า เบสโปร่งไฟฟ้า fretless bass (เบสไม่มีเฟรต) และ double bass, upright bass บ้างทีก็เรียกกันว่า acoustic bass แต่ก็มีภาษาพูดเรียกกันติดปากสำหรับนักดนตรีบางคนว่า เบสใหญ่
    เบส ไฟฟ้าที่ใช้โดยทั่วไปจะมี 4 สาย 5 สาย และ 6 สาย ส่วนสายที่มากไปกว่านี้ก็มีเนื่องจากนักดนตรีบางคนอาจจะออกแบบเพื่อประยุกต์ ใช้ทางการเล่นเฉพาะตัว
    เบส 4 สายการตั้งสายตามมาตรฐานคือ E-A-D-G (เรียงจากต่ำ-สูง) เบส 5 สายคือ B-E-A-D-G ส่วน 6 สายคือ B-E-A-D-G-C แต่อย่างไรก็ตามเบสก็ได้ถูกขยายขอบเขตออกไปตามแนวคิดและการประยุกต์ใช้ของ มือเบสต่างๆ จำนวนสายก็อาจจะมีอื่นๆอีก เช่น 3 สาย, 7 สาย, 8 สาย ,9 สาย เป็นต้น

    ประวัติกีตาร์เบส

         เมื่อกล่าวถึง Bassline เริ่มเป็นที่รู้จักกันในวงการดนตรี โดยเริ่มได้ยิน เช่นในบทเพลงของ J.S. Bach ระหว่างปี 1685-1750 ซึ่ง bassline มีความ สำคัญเฉกเช่นเดียวกับในส่วนของ soprano , alto , tenor เลยที่เดียว โดยในดนตรีคลาสสิก และออร์เคสตรา เสียงเบสจะถูกกำหนดขึ้นโดยเครื่องดนตรีที่มีชื่อว่า upright bass หรือ bass viola ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีตระกูลเบสรุ่นแรกในโลก
    ต่อ มาเมื่อเริ่มมีดนตรีของคนแอฟริกัน คือ Ragtime (ดนตรีแนวเต้นรำของชาวแอฟริกัน) และ New Orleans Jazz โดยมีอุปกรณ์เสียงต่ำที่เล่นจาก brass bass และ tuba เนื่องจากเป็นการเล่นโดยใช้ลมหายใจในการเป่า ที่ใช้ทูบาในการเล่นเป็นจังหวะ 2 beat ใน 1 bar และนี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของเพลง jazz และเพลงเต้นรำ
         เมื่อเพลงแจ๊ซมีการพัฒนาและเกิดการวิวัฒนาการขึ้นเป็นจังหวะ swing ในปี 1935 การแต่งและการเรียบเรียงดนตรีจึงเกิดมีความซับซ้อนและยุ่งยากตามมา แต่ในขณะนั้น ได้มีในงานดนตรีที่มีชื่อเสียงในวงการเพลงแจ๊ซ เช่น Duke Ellington , Count Basie and Benny Goodman และจังหวะแบบ 4 จังหวะ ใน 1 ห้องเพลง เริ่มเป็นที่แพร่หลายและนำไปใช้กันมากขึ้น ตั้งแต่ที่ brass bass ไม่สามารถที่จะเล่นในจังหวะนี้ได้ Acoustic upright bass จึงได้เป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญที่ขึ้นมาแทนที่ brass bass อย่างไรก็ตาม Acoustic upright bass ก็มีข้อจำกัดของมันเองอยู่เหมือนกัน ในเรื่อง ของลำตัวที่ค่อนข้างใหญ่พกพายาก และมีน้ำเสียงที่ไม่สามารถดังดีพอและเหมาะสมในการเล่นร่วมกับวงดนตรีประเภท Big band ที่มีเครื่องดนตรีหลากหลายชิ้น เช่น brass จำนวน 7 ตัว ,เปียโน ,กีต้าร์ กลอง สิ่งนี้จึงมีการเกิดปัญหาต่อในหมู่คนเล่นเบส
        ต่อมาจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการประดิษฐ์ เบสไฟฟ้าขึ้นมาตัวแรกของโลก เบสไฟฟ้าตัวแรกของโลก ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาโดย Clarence Leo Fender ในปี 1951 จากบริษัท Fender Musical Intrumental Company (บริษัทเดียวกับที่ผลิตกีตาร์ Fender) ร่วมกันผลิตเบสที่มีชื่อรุ่นว่า Precision bass โดย Leo Fender ได้ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อการแก้ไขปัญหาของเบสรุ่นเก่าที่มีปัญหาในเรื่องของ เสียงและขนาดที่ใหญ่ของ Acoustic upright bass ซึ่งเขาได้ตั้งชื่อรุ่นว่า Precision bass เพื่อให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย ที่แปลว่า "เบสที่มีความกระชับ " โดยมีการใช้เฟร็ทติดลงบน Fingerboard และ แก้ไขในเรื่องของน้ำเสียงให้ดีขึ้น
    American Vintage ‘62 Precision Bass?
          Leo Fender กล่าวว่า "พวกเราต้องให้ความเป็นอิสระแก่มือเบสจาก Acoustic upright bassการ ผลิตเบสจึงเป็นการเกิดอุตสาหกรรมการผลิตเบสขึ้นเป็นครั้งแรก โดยความร่วมมือกับ George Fullerton Precision Bass รุ่นนี้มีการสร้างเฟรทที่ลำคอ มีลักษณะเป็น slab-bodied และ มี 34" scale ต่อมาเบสรุ่นนี้จึงเป็นที่นิยมในหมู่นักดนตรีระดับโลก ในทุก ๆ แขนงทางดนตรี เช่น Monk Montgomery ,Shifti Henri ,Dave Myers
    วง ของ Vibist Lionel Hampton นับเป็นรุ่นแรกที่นำ P-Bass ไปใช้ในการแสดง โดยมือเบสของเขา คือ Roy Johnson และเบสตัวนี้มีเสียงที่ออกมาได้อย่างน่าทึ่งมาก จากคำวิจารณ์ของ Leonard Feather ซึ่งได้เขียนในนิตยสาร Down Beat เมื่อ 30 กรกฎาคม 1952 หลังจาก Roy Johnson ออกจากวงของ Hampton Monk Montgomery จึงเป็นบุคคลแรกที่สามารถสร้างชื่อเสียงขึ้นจากเบสตัวนี้ แต่เขาก็ยังคงใช้ upright bass ในการเล่นควบคู่กันไปในวงของเขา กับมือกีตาร์คือ Wes Montgomery (มือกีตาร์ฝีมือดีแห่งวงการ) ซึ่งเป็นน้องชายเขา
    นอก จากนี้ นักดนตรี Blues ก็นำเอาเบสรุ่นนี้ไปใช้ในบทเพลงเช่นเดียวกัน โดยในปี 1958 Dave Myers ได้นำ Precision Bass ไปใช้ในการบันทึกเสียงเบส ที่สร้างความสำเร็จให้แก่นักดนตรี Blues สมัยนั้นอย่างมากมาย โดย เขาได้พูดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม ปี 1998 ว่า "ผมสร้างความประสบความสำเร็จให้กับ Fender Bass.."
    กลองชุด 
         กลองชุด เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีกระทบ ประกอบด้วยกลองหลายใบ และฉาบ โดยใช้ผู้เล่นคนเดียว ถือไม้ตีกลองและฉาบทั้งสองมือ และใช้เท้าเหยียบกระเดื่อง เพื่อตีกลองใหญ่ และ Cymbals กลองชุดเป็นที่นิยมใช้กับงานดนตรีเกือบทุกประเภท

    ส่วนประกอบ

    กลองชุด ประกอบด้วย (1) Bass drum (2) Floor tom (3) Snare (4) Toms (5) Hi-hat (6) Crash cymbal และ Ride cymbal
    • เครื่องดนตรีในกลองชุด ประกอบด้วย
    • กลองเล็ก หรือ สะแนร์ดรัม (Snare drum) ประกอบด้วยแผงลวดขึงรัดผ่านผิวหน้ากลองด้านล่าง เพื่อให้เกิดเสียงกรอบ ๆ ดังแต๊ก ๆ ตัวกลองทำด้วยไม้หรือโลหะ และสามารถรัดให้หนังตึงด้วยขอบไม้ด้านบนและล่าง สามารถปลดสายสะแนร์เพื่อให้เกิดเสียงทุ้มดังตุ้มตุ้มได้ และตีกลองเล็กด้วยไม้ นิยมใช้กลองชนิดนี้ทั้งในวงดุริยางค์และวงดนตรี
    • กลองทอม (Tom-tom drum) หรือ เทเนอร์ดรัม (Tenor drum) มีขนาดใหญ่กว่าสะแนร์ดรัม เป็นกลองชนิดที่สร้างขึ้นโดยไม่ใช้สายสะแนร์ โดยทั่วไปบรรเลงในหมวดกลอง ใช้ไม้ชนิดหัวไม้หุ้มสักหลาด
    • กลองใหญ่ หรือ กลองเบส (Bass drum) เป็นกลองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ประกอบด้วยตัวกลองที่ทำด้วยไม้และมีหนังกลองทั้งสองด้าน เสียงที่เกิดจากการตีกลองใหญ่จะไม่ตรงกับระดับเสียงที่กำหนดไว้ทางตัวโน้ต ตีด้วยไม้ที่มีสักหลาดหุ้ม ชนิดที่มีหัวที่ปลายทั้งสองข้าง ใช้เพื่อทำเสียงรัว
    • กลองทิมปานี (หรือกลองเค็ทเทิ้ลดรัม) เป็นกลองที่มีลักษณะเป็นหม้อกระทะ ซื่งมีหน้าหนังกลองหุ้มทับอยู่ด้านบน เป็นกลองชนิดเดียวที่ขึ้นเสียงแล้วได้ระดับเสียงที่แน่นอน เมี่อคลายหรือขันหน้ากลองโดยใม่ว่าจะใช้วิธีขันสกรูหรือเหยียบเพดดัล (ที่เหยียบ) ก็ไดั ไม้ที่ใช้ตีมีการหุ้มนวมตรงหัวไม้ตี ตีได้ทั้งเป็นจังหวะและรัว
    • ฉาบ หรือ เชมเบล (Cymbal) มีอยู่2ชนิดคือฉาบที่ใช้กับกลองชุดและฉาบที่ใช้เดิน 






    เครื่องสังเคราะห์เสียง (Synthesizer)

    Synthesizer

    ซินธิไซเซอร์ (อังกฤษ: synthesizer) คือ เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ ออกแบบมาเพื่อสร้างเสียงจำลองโดยใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การเพิ่มเสียง, การ ลดเสียง, การใช้คลื่นเสียงกล้ำคลื่นวิทยุโดยเปลี่ยนความถี่คลื่น (Frequency Modulate; FM), การสังเคราะห์ เสียงกายภาพ, การทำให้คลื่นเสียงผิดเพี้ยนรูปร่างไป
    ซินธิไซเซอร์สร้างเสียงผ่านการปรับเปลี่ยนโดยตรงของกระแสไฟฟ้าซึ่งถูกใช้ ในซินธิไซเซอร์แบบอนาล็อก, การปรับเปลี่ยนทางคณิตศาสตร์ของค่าตัวแปรที่พอใจ โดยใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งใช้ใน ซินธิไซเซอร์แบบที่เป็นโปรแกรมสำเร็จรูป หรือจากการรวมทั้งสองวิธีเข้าด้วยกัน ในขั้นตอนสุดท้ายของซินธิไซเซอร์กระแสไฟฟ้าจะถูกใช้เพื่อสร้างการสั่นให้กับ แผ่นที่ใช้สั่นของ ลำโพง หรือ หูโทรศัพท์ เป็นต้น เสียงซินธิไซเซอร์นี้ถูกจำลองไว้จากการอัดเสียงธรรมชาติ เมื่อพลังงานทางกลของคลื่นเสียงถูกแปลงไปเป็นสัญญาณ และที่สุดจะถูกเปลี่ยนกลับไปเป็นพลังงานทางกลจากการเล่นเทปที่อัดไว้ผ่านการ สุ่ม ส่วนสำคัญที่ขาดหายไปของเสียงซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของซินธิไซเซอร์
    ซินธิไซเซอร์เสียงพูด ยังถูกใช้ใน กรรมวิธีสร้างเสียงพูด อิเล็กทรอนิกส์ มักจะใช้ใน โวโคดเดอร์ (Vocoders) หรือการสร้างเสียงพูดนั่นเอง

    เนื้อหา

    • 1 พื้นฐานของเสียง
    • 2 ภาพรวมของวิธีการสังเคราะห์ที่เป็นที่นิยม
    • 3 พื้นฐานของซินธิไซเซอร์
    • 4 การเริ่มต้นยุคสมัยของซินธิไซเซอร์
    • 5 ออแกนอิเลคทรอนิกส์ กับ ซินธิไซเซอร์
    • 6 ซินธิไซเซอร์ควบคุมด้วยไมโครโปรเซสเซอร์และอนาล็อกหลายเสียง
    • 7 การควบคุม MIDI
    • 8 การสังเคราะห์การใช้คลื่นเสียงกล้ำคลื่นวิทยุโดยเปลี่ยนความถี่คลื่น (FM)
    • 9 เสียงที่ใช้เป็นตัวอย่างและการสุ่มตัวอย่าง
    • 10 ซินธิไซเซอร์เสียงกายภาพ
    • 11 ซินธิไซเซอร์ดิจิตอลสมัยใหม่
    • 12 ซินธิไซเซอร์แบบโปรแกรมสำเร็จรูปเพียงอย่างเดียว

    พื้นฐานของเสียง

    เมื่อเสียงสูงต่ำธรรมชาติของเครื่องดนตรีถูกจำแนกออกมาในรูปแบบของ ความถี่ ระยะของคลื่นเสียง ของเครื่องดนตรีเสียงสูงต่ำนั้นจะแสดงส่วนสูงสุดของคลื่นที่ ฮาร์โมนิกส์ ความถี่ฮาร์โมนิกส์นี้เป็นส่วนดั้งเดิมที่อยู่ติดกับจำนวนหลายค่าของ ความถี่มูลฐาน ของเสียงสูงต่ำ
    เสียงตีเคาะและเสียงครูดมักจะขาดฮาร์โมนิกส์ และแสดงระยะของคลื่นเสียงที่มีส่วนประกอบหลักของรูปแบบเสียงรบกวนโดย ความถี่เรโซแนนซ์ ของวิธีหรืออุปกรณ์ที่ใช้สร้างเสียง คุณสมบัติการเรโซแนนซ์ของเครื่องดนตรี ซึ่งระยะของคลื่นเสียงสูงสุดของส่วนที่ติดกันยังเป็นส่วนที่แสดงถึง รูปแบบเสียง ด้วย รวมถึงรูปร่างระยะของคลื่นเสียงของเครื่องดนตรีจำพวกสาย เสียงรอก เสียงพูด และเสียงธรรมชาติอื่นๆ
    ซินธิไซเซอร์ที่ออกมาส่วนใหญ่มีจุดประสงค์เพื่อใช้สังเคราะห์เสียงต่อ การอัดเสียงของเครื่องดนตรีจริงสามารถใช้ส่งผ่านไปยังส่วนประกอบอื่นๆ ได้อย่างหลากหลาย
    เสียงประกอบเหล่านี้แสดงการตอบสนองเสียงที่ได้ป้องกันการสะท้อนของส่วน ต่างๆ ของเครื่องดนตรี (Acoustic) เสียงถูกสร้างจากเครื่องดนตรีจากส่วนต่างๆ ของคุณลักษณะของแหล่งกำเนิด หรือพฤติกรรมของเครื่องดนตรีภายใต้สภาพการเล่นที่ต่างกัน เช่นเสียงที่มีระดับสูงสุด การเล่นที่แรงขึ้น หรือการใช้นิ้วช่วย เป็นต้น ลักษณะพิเศษของเสียงที่มีคู่แปด เสียงแปล่ง และการบรรเลงร่วมกันของเครื่องดนตรีจริงๆ สามารถสร้างได้จากการผสมส่วนต่างๆ เหล่านี้เข้าด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น เสียงที่คล้ายพฤติกรรมทางธรรมชาติของเครื่องดนตรีจริง การให้เสียงเฉพาะสามารถปรับแต่งได้จากวิธีการต่างๆ กัน และการสร้างจากซินธิไซเซอร์ แต่เสียงต่างๆ เหล่านี้มักจะถูกสร้างจาก เครื่องสร้างสัญญาณ (Oscillator) หรือเป็นแค่ส่วนหนึ่งในการสร้างเสียง การสร้างเสียงที่ชัดเจนยิ่งขึ้นของเครื่องดนตรีตามธรรมชาติ สามารถแบ่งเป็นชนิดย่อยยิ่งขึ้นได้จากการใช้เครื่องสร้างสัญญาณ แต่เพิ่มกำลังจากการคำนวณ แต่การโปรแกรมของมนุษย์ก็ยังขาดเสียไม่ได้ และซินธิไซเซอร์ส่วนใหญ่ก็ถูกใช้ระหว่างเครื่องสร้างสัญญาณหนึ่งและสี่เป็น หลัก
    รูปร่างที่สำคัญที่สุดชนิดหนึ่งของเสียงใดๆ ที่เกิดจากสภาพของความสูงของคลื่น สภาพแวดล้อมนี้เองเกิดจากเสียงที่ได้จากการเคาะ เช่นเสียงกลองเต๊ก หรือการสีของไวโอลิน รูปร่างของเสียงเหล่านี้ถูกสร้างด้วย “ADSR” (Attack Decay Sustain Release) แบบจำลองสภาพที่ใช้ในการควบคุมเสียงที่ได้จากเครื่องสร้างสัญญาณ แต่ละส่วนของเสียงเหล่านี้จะถูกสร้างจากการเปลี่ยนความดังของเสียง การบรรเลงร่วมกันเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มระดับเสียง การลดลงของเสียงจะเกิดขึ้นทันทีที่มีการบรรเลงร่วมกัน เสียงดังต่อเนื่องเป็นเสียงเมื่อโน้ตถูกค้างไว้ การเปลี่ยนรูปร่างเสียงเมื่อโน้ตถูกปล่อยให้ดำเนินต่อไป อัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในทันทีทันใดมักจะถูกใช้กับเสียง เพราะมันเป็นรูปแบบการสั่นทางกายภาพที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งมักจะเพิ่มเสียงขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็วในทันทีทันใด
    แม้ว่าการสร้างสัญญาณในเครื่องดนตรีจริงๆ จะสามารถเปลี่ยนความถี่ได้ก็ตาม เครื่องดนตรีส่วนใหญ่ก็สามารถถูกจำลองขึ้นอย่างดีโดยไม่ต้องการความละเอียด ลออของเสียงมากนัก ซึ่งจะจำเป็นก็ต่อเมื่อต้องใช้สร้าง เสียงที่เกิดจากการสั่น (Vibrator)

    ภาพรวมของวิธีการสังเคราะห์ที่เป็นที่นิยม

    ซินธิไซเซอร์ที่ใช้หักล้างเสียงใช้ทั่วไปกับรูปแบบที่ต้องการตัดเสียง สะท้อนที่เสมือนเครื่องดนตรี โดยจะถูกใช้แทนด้วยการสร้างสัญญาณทั่วไป เช่น การสร้างคลื่นรูปฟันเลื่อย คลื่นสี่เหลี่ยม เป็นต้น จาก ตัวกรอง (Filter) ซึ่งแสดงการสูญเสียที่ขึ้นกับความถี่ และการเรโซแนนซ์ในตัวเครื่องดนตรี ตัวกรองเหล่านี้ถูกแบ่งโดยตัวกรองที่ยอมให้สัญญาณต่ำผ่านเมื่อมีสัญญาณเข้า มาในระดับต่ำเพราะเหตุผลที่ต้องการความเรียบง่ายและประหยัด การรวมการกล้ำเสียงในคลื่นอย่างง่าย เช่น การรวมสัญญาณกับความกว้างคลื่น (Pulse width modulation) และ การส่งสัญญาณไปกับสัญญาณที่สร้างขึ้น (Oscillator sync) รวมไปถึงตัวกรองสัญญาณต่ำที่ไม่เกิดขึ้นจริงในทางกายภาพ เป็นการตอบสนองที่ใช้กับซินธิไซเซอร์แบบคลาสสิค เสียงส่วนใหญ่จะถูกสร้างจากการสังเคราะห์ทางอนาล็อก และมักจะมีข้อผิดพลาดเมื่อนำไปใช้กับซินธิไซเซอร์แบบโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ การสังเคราะห์แบบหักล้างเสียง แม้ว่า การสังเคราะห์รูปแบบทางกายภาพ (Physical modeling synthesis) นั้น การสังเคราะห์เสียงจะถูกสร้างตามลักษณะกายภาพของเครื่องดนตรีโดยถูกแทนที่ การสังเคราะห์แบบหักล้างสำหรับการสร้างเสียงคู่แปดของเครื่องดนตรีตาม ธรรมชาติ ตัวอย่างการสังเคราะห์แบบหักล้างเสียงยังคงแพร่หลายในซินธิไซเซอร์จากการออก แบบที่ทันสมัยที่สุดที่สนับสนุนให้ตัวกรองที่ให้สัญญาณต่ำผ่านเมื่อสัญญาณ ที่เข้ามาอยู่ในระดับต่ำหรือตัวกรองที่ให้ช่วงความกว้างคลื่นผ่านได้ ตามอย่างอุปกรณ์สร้างสัญญาณ
    ระบบการสังเคราะห์เสียงที่ง่ายที่สุดเป็นการอัดเสียงจากเครื่องดนตรีโดย ตรงให้เป็นรูปแบบคลื่นดิจิตอล และเมื่อนำมาเล่นที่ความเร็วต่างๆ กัน โทนเสียงที่สร้างได้ก็จะต่างกันด้วย นี่เป็นเทคนิคที่ใช้ในการสุ่มสัญญาณเสียง เครื่องสุ่มสัญญาณส่วนใหญ่ออกแบบส่วนของการสุ่มเพื่อใช้สำหรับส่วนประกอบ ย่อยของสภาพแวดล้อมของ ADSR และเมื่อเล่นซ้ำที่ส่วนซึ่งเปลี่ยนเสียงองค์ประกอบของสภาวะแวดล้อม ทำให้เครื่องสุ่มมีสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่ชวนใจ น่าหลงใหลขึ้นจากการใช้โน้ตตัวเดียวกัน (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ การสังเคราะห์ตัวอย่างพื้นฐาน; Sample-based synthesis)

    พื้นฐานของซินธิไซเซอร์

    ซินธิไซเซอร์แบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก ได้แก่แบบ อนาล็อก และแบบ ดิจิตอล
    นอกจากนี้ยังมีวิธีการสังเคราะห์ที่แตกต่างกันอีกหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็จัดอยู่ในกลุ่มซินธิไซเซอร์แบบอนาล็อกและแบบดิจิตอลทั้งสิ้น เทคนิคเหล่านี้ล้วนต้องเกี่ยวข้องวิธีทางคณิตศาสตร์ ยกเว้นวิธีการใช้คลื่นเสียงกล้ำคลื่นวิทยุโดยเปลี่ยนความถี่คลื่น (Frequency Modulation; FM) และวิธีการใช้คลื่นเสียงกล้ำคลื่นวิทยุโดยเปลี่ยนคาบของคลื่น (Phase Modulation; PM)

    การเริ่มต้นยุคสมัยของซินธิไซเซอร์

    ซินธิไซเซอร์ในยุคเริ่มต้นนั้นใช้เทคโนโลยีที่ได้มาจาก คอมพิวเตอร์อนาล็อก อิเลคทรอนิกส์ และเครื่องมือทดสอบในห้องทดลอง
    ในยุค 1950 RCA สร้างมาเพื่อสังเคราะห์ทั้งเสียงคนและเสียงดนตรี Mark II Music Synthesizer ถือกำเนิดขึ้นที่ศูนย์ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ โคลัมเบีย - ปรินเซตอน ใน นครนิวยอร์ก ของปี 1958 ซึ่งเปี่ยมไปด้วยความสามารถทางด้านดนตรีตั้งแต่การเริ่มโปรแกรมอย่างสมบูรณ์ แบบ ระบบหลอดสุญญากาศ มีส่วนเข้ามาสร้างเสียงชนิดใหม่ๆ นี้ โดยการใช้ เครื่องจัดเรียง เทปกระดาษ มาเจาะรูให้ควบคุมแหล่งต้นกำเนิดเสียงและตัวกรองอีกที คล้ายกับการใช้ เครื่องจักรเล่นเปียโน แต่สามารถสร้างเสียงที่มีความหลากหลายมากขึ้นได้
    ในปี 1958 Daphne Oram แห่งร้านบีบีซี เรดิโอโฟนิก (BBC Radiophonic Workshop) สร้างซินธิไซเซอร์ชนิดใหม่ที่ใช้เทคนิค Oramics โดยการเขียนบนแผ่นฟิล์มขนาด 35 มม. เทคนิคนี้ถูกใช้หลายปีที่ BBC Hugh Le Caine, John Haert, Raymond Scott, Percy Grainger กับ Burnett Cross และทีมงานได้สร้างเครื่องควบคุมเสียงดนตรีอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติในช่วง ปลายยุค 1940 และ 1950 ขึ้น
    ในยุค 1960 ซินธิไซเซอร์ถูกพัฒนาให้สามารถเล่นแบบเรียลไทม์ แต่ถูกจำกัดให้อยู่ในสตูดิโอด้วยข้อจำกัดด้านขนาด การมอดูเรตได้ถูกนำมาใช้ในการออกแบบให้ใช้ได้กับแหล่งกำเนิดสัญญาณและ โปรเซสเซอร์ โดยต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ และควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมดจากการควบคุมอุปกรณ์หลัก
    ซินธิไซเซอร์ในยุคแรกมักจะถูกสร้างจากอุปกรณ์พิเศษ โดยอาศัยหลักการมอดูเรต Donald, Hugu Le Caine Raymond Scott และ Paul Ketoff เป็นกลุ่มแรกที่สร้างเครื่องดนตรีพวกนี้ ในปลายยุค 1950 ถึง ต้นยุค 1960 ซึ่งมีเพียง Buchla ที่ต่อมาได้สร้างเครื่องในเชิงธุรกิจเพื่อการค้า
    ซินธิไซเซอร์ของดนตรีสมัยใหม่ถูกสร้างโดย Robert Moog ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของ Peter Mauzey หนึ่งในวิศวกรของ RCA Mark II Moog ได้ออกแบบวงจรที่ใช้กับซินธิไซเซอร์ของเขา ขณะที่อยู่ที่โคลัมเบีย-ปรินเซตอน ซินธิไซเซอร์ของ Moog ถูกนำแสดงครั้งแรกที่ สมาคมวิศวกรรมด้านเสียงดนตรี (Audio Engineer Society ) เมื่อเข้าสู่ปี 1964 เช่นเดียวกับ RCA Mark II ที่ต้องการเวลาในการสร้างเครื่องจักรที่ให้เสียงชนิดใหม่ๆ แต่เล็กกว่าและใช้ได้สะดวกกว่า ซินธิไซเซอร์ของ Moog จนกระทั่งปี 1968 เรื่องนี้ได้กลายเป็นเรื่องอื้อฉาว
    Mycky Dolenz แห่ง The Monkees ได้ซื้อซินธิไซเซอร์ 3 ชิ้นแรกของ Moog และซินธิไซเซอร์ก็เริ่มมีการทำธุรกิจทางการค้าขึ้นผ่านซินธิไซเซอร์ Moog ซึ่งจัดเป็นอัลบั้มที่ 4 ของ Monkee แห่งค่าย Pises Aquarius Capricorn & Jones ในปี 1967 ค่าย Pises Aquarius Capricorn & Jonesยังได้อัลบั้มแรกที่ใช้ซินธิไซเซอร์แล้วเพลงติดอันดับ 1 ของความนิยม นอกจากนี้ยังเป็นเพลงแรกจากการใช้ซินธิไซเซอร์ที่ขายได้กว่าล้านอัลบั้ม ในปี 1968 อัลบั้ม Switched-On Bach โดย Wendy Carlos Switched-On Bach ยังเป็นการอัดเพลงคลาสสิคที่ได้รับความนิยมที่สุดชุดหนึ่งเท่าที่เคยมีมา ระหว่างปลายยุค 1960 กว่าร้อยเพลงที่เป็นที่นิยมใช้เสียงที่ได้จากซินธิไซเซอร์ของ Moog ซินธิไซเซอร์ของ Moog ใช้อัดเสียงจนแพร่หลายซึ่งได้สร้างเสียงใหม่ๆ จากซินธิไซเซอร์ของเขา ซึ่งตอนนั้นไม่ได้มีเฉพาะซินธิไซเซอร์ของ Moog จึงเป็นที่นิยมและขายได้มากทีเดียว
    นอกจากนี้ Moog ยังสร้างมาตรฐานสำหรับการควบคุมการส่งสัญญาณด้วยการกำหนด 1 โวลต์ต่อ 1 ออกเตฟ (Octave) ในการควบคุมระดับเสียงและแยกสัญญาณส่วนเกิน นี่เป็นมาตรฐานที่ทำให้ซินธิไซเซอร์เปลี่ยนจากเครื่องมือที่ยุ่งยากเป็น เครื่องที่ง่ายต่อการใช้ การควบคุมระดับเสียงมักจะใช้กำหนดทั้งออแกนในรูปแบบของคีย์บอร์ดหรือ เครื่องจัดเรียงเสียงดนตรี (music sequencer) ซึ่งสร้างลำดับในการควบคุมแรงดันไฟฟ้าเพื่อการกำหนดคาบเวลา และยังอนุญาตให้สร้างเสียงดนตรีบางตัวโดยอัตโนมัติ
    ซินธิไซเซอร์ในเชิงธุรกิจการค้าในยุคต้นๆ นั้นยังมี ARP ซึ่งเริ่มใช้ซินธิไซเซอร์มอดูลาร์ก่อนเพื่อสร้างเสียงเครื่องดนตรีทั้งหมด ไว้ในชิ้นเดียว และบริษัทชาติอังกฤษชื่อ Electronic Music Systems อีกด้วย
    ในยุค 1970 การกำเนิดส่วนประกอบแบบโซลิดเสตทนั้น ทำให้ซินธิไซเซอร์กลายมาเป็นของชิ้นเดียวและสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่ายขึ้น ปัจจุบันซินธิไซเซอร์อิเล็กทรอนิกส์ได้กลายมาเป็นชิ้นส่วนมาตรฐานของอุปกรณ์ ทางดนตรี ซึ่งเพลง Son of my Father ของ Giorgio Moroder ได้ติดอันดับ 1 ของเพลงฮิตจากการใช้ซินธิไซเซอร์ (Shapiro, 2000)
    ในปี 1984 Raymond Kurzweil ได้ตั้งข้อสังเกตจาก Stieve Wonder ในการสร้างซินธิไซเซอร์ให้สามารถสร้างเสียงซ้อนของเครื่องดนตรีออเคสตาเป็น ครั้งแรก ซึ่งเป็นพื้นฐานของการอัดตัวอย่างเสียงของเครื่องดนตรีจริง และใช้ในการฝึกคอนดักเตอร์และนักดนตรีจากซินธิไซเซอร์ของ Kurzweil เมื่อเขาเหล่านั้นไม่สามารถซ้อมดนตรีได้จากเครื่องดนตรีจริง

    ออแกนอิเลคทรอนิกส์ กับ ซินธิไซเซอร์

    ออแกนทุกชนิดมีพื้นฐานมาจากหลักการเพิ่มระดับเสียง หรือการสังเคราะห์ของ Fourier คลื่นไซน์หลายระดับถูกรวมเข้าด้วยกันเพื่อสร้างรูปคลื่นที่ซับซ้อนขึ้น จากการที่ Hammond organ ได้สร้างขึ้นในปี 1935 นั้นทำให้สร้างคลื่นไซน์ที่เกี่ยวกับระดับเสียงและก่อให้เกิดคลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้า สำหรับทุกๆ ฮาร์โมนิกส์ ที่มีโทนวีล (Tonewheel) ต่างกัน ในออแกนอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ส่วนมากเครื่องสร้างสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์มี ไว้เพื่อสร้างคลื่นไซน์ ออแกนที่เรียบง่ายที่สุดคือตัวกรองรูปแบบคลื่น (Formant) ที่เปลี่ยนระดับเสียงของเครื่องสร้างสัญญาณอัตโนมัติและการมอดูเรตเพื่อ จำกัดการสั่นที่ไม่ซับซ้อน
    ซินธิไซเซอร์อนาล็อกส่วนมากสร้างเสียงจากการสังเคราะห์แบบหักล้างเสียง ในวิธีนี้รูปคลื่นจะมีมากในระดับสูงๆ โดยมักจะเป็นรูปคลื่นแบบฟันเลื่อยหรือเป็นคลื่นพัลส์ ซึ่งถูกสร้างโดยเครื่องสร้างสัญญาณ สัญญาณที่สร้างขึ้นจะถูกส่งไปยังตัวกรองซึ่งหมายความว่าระดับเสียงสูงๆ จะถูกกรองออกไปสร้างเสียงที่เลียนแบบเครื่องดนตรีอาคูสติก เครื่องสร้างสภาพ ADSR จากการควบคุม VCA เป็นการใช้แรงดันไฟฟ้าควบคุมการขยายเสียง (Voltage control amplifier) เพื่อสร้างเสียงที่ดังขึ้น
    วงจรไฟฟ้าอื่นๆ เช่น เครื่องสร้างรูปแบบคลื่น และ ริง มอดูเรเตอร์ สามารถเปลี่ยนเสียงที่ไม่มีฮาร์โมนิกส์หรือสร้างการลดระดับเสียง ซึ่งมักจะไม่พบในแหล่งกำเนิดเสียงธรรมชาติ การแบ่งส่วนความนิยมระหว่างซินธิไซเซอร์ดิจิตอลสมัยใหม่กับซินธิไซเซอร์ที่ ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปนั้น ซินธิไซเซอร์มอดูเรเตอร์ อนาล็อกยังคงได้รับความนิยมมากกว่า โดยจำนวนเครื่องมือที่สร้างมอดูเรเตอร์จะต่างจากการออกแบบวงจรของ Moog ในปี 1964 จนกระทั่งมีเทคโนโลยีใหม่ๆ มาแทนที่

    ซินธิไซเซอร์ควบคุมด้วยไมโครโปรเซสเซอร์และอนาล็อกหลายเสียง

    ซินธิไซเซอร์อนาล็อกในยุคต้นๆ มักจะเป็นแบบเสียงเดียว (monophonic) คือสร้างได้เสียงเดียวใน 1 ช่วงเวลา ต่อมาได้เพิ่มความสามารถการสร้างเสียงเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เช่น Moog Sonic Six, ARP Odyssey และ EML 101 ซึ่งสามารถสร้างเสียงที่ต่างกัน 2 ระดับใน 1 ช่วงเวลา เมื่อกดปุ่มพร้อมกัน 2 ปุ่ม ส่วนการสร้างหลายระดับเสียงหรือโพลิโพนนี (Polyphony) ที่สามารถสร้างได้หลายระดับเสียงผ่านการประสานเสียงถูก นำมาแสดงร่วมกับการออกแบบออแกนอิเล็กทรอนิกส์เป็นครั้งแรก เป็นวงจรออแกนที่รวมเอาคีย์บอร์ดอิเล็กทรอนิกส์เป็นที่นิยมใช้กับโปรเซสซิ่ง ซินธิไซเซอร์ซึ่งประกอบด้วย ARP Omni และ Moog’s Polymoog และ Opus3
    จากปี 1976 ซินธิไซเซอร์เสียงดนตรีจริง ก็เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อสนับสนุนการโพลิโพนนี ปรากฏให้เห็น ส่วนใหญ่ในรูปแบบของ Moog’s Polymoog ยามาฮ่า CS-80 และ Oberheim Four-Voice เครื่องดนตรียุคต้นๆ จะซับซ้อนมาก หนักมาก และมีราคาค่อนข้างแพง อุปกรณ์อื่นที่เริ่มปรากฏให้เห็นเป็นการอัดเสียงในหน่วยความจำดิจิตอล ซึ่งทำให้มีการเปลี่ยนเสียงได้เร็วยิ่งขึ้น
    เมื่อไมโครโปรเซสเซอร์กำเนิดขึ้นในต้นยุค 1970 พวกมันทำให้กระบวนการต่างๆ ง่ายขึ้น การใช้เสียงหลายระดับร่วมกัน และการใช้ไมโครโปรเซสเซอร์ในการควบคุมการทำงานเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ Sequential Circuit Prophet-5 ถูกเปิดตัวในปี 1977 สำหรับช่วงแรกนักดนตรีคุ้นเคยกับซินธิไซเซอร์ที่มีการตั้งค่าต่างๆเก็บไว้ใน หน่วยความจำคอมพิวเตอร์ และเรียกใช้จากการกดปุ่ม Prophet-5 ถูกนำเข้ามาแทนด้วยความกะทัดรัด น้ำหนักเบา พื้นฐานการออกแบบกลายมาเป็นมาตรฐานของเครื่องซินธิไซเซอร์ ถือเป็นการขจัดความยุ่งยากในการออกแบบมอดูล่าร์ที่ซับซ้อนออกไป

    การควบคุม MIDI

    ในช่วงที่ประดิษฐ์ MIDI, a time-coded serial interface ขึ้นในปี ค.ศ. 1983 ซินธิไซเซอร์กลายมาเป็นสิ่งที่ง่ายในการรวมเสียงและเข้าจังหวะเสียงกับ เครื่องดนตรีอิเลคทรอนิกส์และอุปกรณ์ควบคุมชนิดอื่นๆ การต่อ MIDI ในปัจจุบันใช้แพร่หลายเกือบจะในทุกอุปกรณ์ดนตรี และยังใช้เป็นส่วนประกอบพื้นฐานของ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PCs) ด้วย
    มาตรฐาน General MIDI (GM) Software ที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1991 เพื่อรองรับวิธีที่ตรงกันในการอธิบายเสียงสูงต่ำกว่า 200 ชุด รวมไปถึงเสียงเคาะด้วย สามารถที่จะใช้กับ PC สำหรับเสียงโน้ตดนตรี ในครั้งแรกที่ใช้อุปกรณ์ GM ให้ตั้งเสียงให้ตรงกับการสร้างเสียงปี่หรือเสียงกีตาร์ รูปแบบไฟล์ .mid เป็นที่แพร่หลายและกลายเป็นมาตรฐานที่เป็นที่นิยมใช้สำหรับการแปลงโน้ตเสียง ของคอมพิวเตอร์

    การสังเคราะห์การใช้คลื่นเสียงกล้ำคลื่นวิทยุโดยเปลี่ยนความถี่คลื่น (FM)

    John Chowning แห่งมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ดเป็นผู้วิจัยคนแรกในการที่จะคิดค้นการสร้างเสียง ดนตรีจากเครื่องสร้างไฟฟ้ากระแสสลับอันหนึ่งที่ใช้คลื่นเสียงกล้ำคลื่นวิทยุ ตั้งระดับเสียงของอุปกรณ์อื่นๆ วิธีการนี้เรียกว่า FM หรือ การสังเคราะห์การใช้คลื่นเสียงกล้ำคลื่นวิทยุโดยเปลี่ยนความถี่คลื่น (Frequency Modulation) การทดลอง FM ในช่วงแรกของ Chowning ทำด้วยโปรแกรมโปรแกรมบนเมนเฟรมคอมพิวเตอร์
    FM ใช้อุปกรณ์สร้างคลื่นไซน์ ซึ่งเรียกว่า โอเปอร์เรเตอร์ โดยความถี่มูลฐานของโอเปอร์เรเตอร์ต้องนิ่งพอ โดยปกติแล้วจะสร้างจากสัญญาณดิจิตอล แต่ละเสียงที่ออกมาของโอเปอร์เรเตอร์อาจจะถูกนำไปเป็นสัญญาณป้อนให้โอเปอร์ เรเตอร์อื่น ผ่าน ADSR หรืออุปกรณ์ควบคุมแวดล้อมอื่นๆ โอเปอร์เรเตอร์แรกจะใช้คลื่นเสียงกล้ำคลื่นวิทยุของระดับเสียงของโอเปอร์ เรเตอร์ตัวที่สอง โดยวิธีนี้สามารถสร้างรูปแบบคลื่นที่ซับซ้อนได้ การสังเคราะห์ FM เป็นวิธีพื้นฐานของการสังเคราะห์เพิ่มและตัวกรองใช้ในซินธิไซเซอร์ที่ใช้หัก ล้างเป็นชนิดที่ไม่ใช้ในซินธิไซเซอร์ FM จนกระทั่งกลางยุค 1990 จากการต่อโอเปอร์เรเตอร์แบบเรียงกันและการโปรแกรมภาวะแวดล้อมต่างๆ สามารถจำลองารสังเคราะห์การหักล้างบางชนิดได้ ผ่านเสียงของตัวกรองอนาล็อกเรโซแนนซ์ที่เป็นไปได้ในการทำเกือบทั้งหมด FM เป็นรูปแบบที่ดีที่สุดสำหรับการสร้างเสียงที่ซินธิไซเซอร์แบบหักล้างมีความ ยากในการสร้างส่วนของเสียงที่ไม่เป็นฮาร์โมนิกส์เช่นเสียงระฆังที่มีเสียง คู่แปดมาปนอยู่
    สิทธิบัตรของ Chowning ครอบคลุมการสังเคราะห์เสียง FM ได้ให้ลิขสิทธิ์กับบริษัทยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นชื่อยามาฮ่า เป็นรายได้มหาศาลของแสตนฟอร์ดระหว่างยุค 1980 ซินธิไซเซอร์ FM ชุดแรกของยามาฮ่าคือ GS-1 GS-2 มีราคาค่อนข้างสูงและหนัก ปัจจุบันรุ่นต่อมาของ GS มีขนาดเล็กลง ปัจจุบันรุ่น CE20 และ CE25 Combo Ensembles ซึ่งมีเป้าหมายหลักในการค้าที่ออแกนบ้าน และ และสร้างคีย์บอร์ออคเตฟที่ 4 รุ่นที่ 3 คือ DX-7 ในปี 1983 มีขนาดและน้ำหนักเหมือนกับ Prophet-5 มีราคาที่สมเหตุสมผล และขึ้นกับวงจรรวมสัญญาณดิจิตอลที่สร้าง FM ได้หลายระดับเสียง DX-7 เป็นที่นิยมมากและใช้ในกว่าพันอัลบั้มเพลงป๊อปนับจากยุค 1980 ยามาฮ่ายังได้รับลิขสิทธิ์อื่นๆ ในเทคโนโลยี FM ด้วย เมื่อสิทธิบัตรของแสตนฟอร์ดหมดอายุลงเกือบทุกคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในโลกจะมี ระบบเสียงที่เป็นแบบ built-in 4-opertor FM digital synthesizer

    เสียงที่ใช้เป็นตัวอย่างและการสุ่มตัวอย่าง

    มีซินธิไซเซอร์ชนิดหนึ่งที่ใช้กับการอัดสัญญาณดิจิตอล ซึ่งใช้เล่นช่วงต่างๆ ของเสียงที่ออกมา ซินธิไซเซอร์นี้เรียกว่า เสียงที่ใช้เป็นตัวอย่าง (Sampler)
    การสุ่มตัวอย่างเสียงสามารถถูกใช้ในการรวมเทคนิคของซินธิไซเซอร์อื่นๆ เข้าด้วยกันซินธิไซเซอร์แบบโปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้บางตัวถูกสุ่ม ตัวอย่างเสียงและนำเสียงไปผ่านโปรแกรมตัวกรองพื้นฐาน สะท้อน ริงมอดูเรเตอร์ และอื่นๆอีกด้วย
    การสุ่มตัวอย่างเสียงเริ่มหายไป เมื่อนักวิจัยประสบความสำเร็จในการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์เมนเฟรม การเปิดตัว Fairlight CMI ในปี 1979 เป็นที่รู้จักดีของเครื่องดนตรีดิจิตอลที่ใช้การสุ่มตัวอย่างเสียง และเริ่มวิวัฒนาการต่อไป Fairlight มักจะถูกใช้ในการอัดเสียงของศิลปินยอดนิยมเช่น Jean-Michel Jarre, Kate Bush, Peter Gabriel และ Art of Noise จากการที่ Fairlight มีราคาที่ค่อนข้างสูง ความซับซ้อน และค่อนข้างหายาก และมีราคาใกล้เคียงกับ New England Digital Synclavier เป็นสาเหตุให้บริษัทแคลิฟอร์เนียชื่อ E-Mu ได้เปิดตลาด Emulator I ในปี 1981 เป็นคีย์บอร์ดสุ่มตัวอย่างเสียงที่มีราคาต่ำที่สามารถนำเสียงที่อัดไว้ บันทึกในแผ่น Floppy disk และ Ensoniq ได้เปิดตลาดเป็นชุดต่อมาในปี 1985 มีราคาต่ำลงไปอีก Ensoniq Mirage มีราคาประมาณ 1,500 ดอลล่าร์สหรัฐ เปรียบเทียบกับ Emulator I ที่มีราคารวมภาษีอยู่ที่ 7,900 ดอลล่าร์สหรัฐ

    ซินธิไซเซอร์เสียงกายภาพ

    การสังเคราะห์เสียงกายภาพ เป็นการสังเคราะห์เสียงจากการใช้ชุดของสมการและอัลกอริทึมเพื่อจำลองแหล่ง กายภาพของเสียง เมื่อชุดของตัวแปรที่สำคัญถูกสร้างขึ้นจากการจำลองกายภาพ เสียงจำลองก็จะถูกสร้างขึ้น
    เสียงกายภาพไม่ใช่สิ่งใหม่ที่คิดขึ้นในการป้องกันเสียงสะท้อนและการ สังเคราะห์เสียง จนกระทั่ง Karplus-Strong algorithm มีความละเอียดลออในการหักล้างเสียงและการสร้างอัลกอริทึมใน การสังเคราะห์คลื่นดิจิตอล (Digital waveguide synthesis) โดย Julius O. Smith III และมากขึ้นใน DSP Power ในช่วงปลายยุค 1980 ที่มีความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจการค้า
    จากความสำเร็จทางลิขสิทธิ์ของยามาฮ่าจากการจดสิทธิบัตรการสังเคราะห์ FM ของแสตนฟอร์ด ยามาฮ่าได้ลงนามร่วมกับมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ดในปี 1989 เพื่อร่วมกันพัฒนาการสังเคราะห์คลื่นดิจิตอล ดังนั้นการจดสิทธิบัตรส่วนใหญ่ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีนี้จึงเป็นของแสตนฟอร์ ดหรือยามาฮ่า ซินธิไซเซอร์เสียงกายภาพถูกนำมาใช้ในเชิงธุรกิจอย่างจริงจังครั้งแรกในรุ่น VL-1 ของยามาฮ่า ซึ่งออกสู่ตลาดในปี 1994

    ซินธิไซเซอร์ดิจิตอลสมัยใหม่

    ซินธิไซเซอร์สมัยใหม่ส่วนมากเป็น ดิจิตอล เกือบทั้งหมด รวมไปถึงการสังเคราะห์อนาล็อกสมัยใหม่ก็ใช้ เทคนิกของดิจิตอล ซินธิไซเซอร์ดิจิตอลใช้เทคนิคระบบสัญญาณดิจิตอล (Digital signal processing; DSP) เพื่อสร้างเสียงดนตรี ซินธิไซเซอร์ดิจิตอลบางชนิดในปัจจุบันออกมาในรูปแบบของโปรแกรม Softsynth ที่เสียงจากซินธิไซเซอร์นำไปใช้ร่วมกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล นอกเหนือนั้นยังนำไปใช้กับอุปกรณ์ DSP
    ซินธิไซเซอร์ดิจิตอลสร้างตัวอย่างดิจิตอล โดยการเลือกเสียงที่ให้ความถี่ตัวอย่างออกมา (แบ่งเป็น 44100 ตัวอย่างต่อวินาที) ในกรณีพื้นฐานที่สุด เครื่องสร้างสัญญาณแต่ละตัวจะถูกจัดใหม่เพื่อการนี้ แต่ละตัวอย่างของเครื่องสร้างสัญญาณถูกใช้ให้เกิดความหลากหลายของเสียง ขึ้นอยู่กับความถี่ของเครื่องกำเนิดสัญญาณ สำหรับเครื่องสร้างฮาร์โมนิกส์ รูปแบบคลื่นของเครื่องสร้างสัญญาณจะถูกกำหนดขึ้น ส่วนเครื่องสุ่มสัญญาณรบกวนสัญญาณที่สุ่มส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของตัวเลข ค่าต่างๆ จากการนับของเครื่องกำเนิดสัญญาณจะถูกผสมเข้าด้วยกัน และจากนั้นจะส่งไปยังตัวแปลงดิจิตอลเป็นอนาล็อก และเครื่องขยายอนาล็อกเพื่อทำลายกำแพงความยากของขั้นตอนที่มีมากมายในการ สร้างสภาพแวดล้อมเสียงและการผสมเสียง และเพื่อเพิ่ม ADSR และระดับการผสมเพื่อสร้างค่าจำนวนจริงของเครื่องสร้างสัญญาณ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพื่อเพิ่มค่าในขั้นตอนสุดท้ายของการผสมเสียง สัญญาณจะถูกแปลงเป็นค่าคงที่ในเชิงเส้น

    ซินธิไซเซอร์แบบโปรแกรมสำเร็จรูปเพียงอย่างเดียว

    ซินธิไซเซอร์ในยุคแรกถูกกำหนดรูปแบบจากซินธิไซเซอร์แบบโปรแกรมสำเร็จรูป บนคอมพิวเตอร์เมนเฟรม ซึ่งใช้วิธีที่ตายตัวคล้ายกับการสังเคราะห์เสียงดิจิตอล ดนตรีจะถูกเข้ารหัสเพื่อใช้ในการเจาะบัตรเพื่ออธิบายชนิดของเครื่องดนตรี โน้ต และองค์ประกอบอื่นๆ รูปแบบของระดับเสียงแต่ละชนิดจะถูกสร้างจากการเรียงคลื่นไซน์ และเปลี่ยนไปเป็นชุดรหัสฐานสองสำหรับตัวแปลงดิจิตอลเป็นอนาล็อก และผสมเสียงโดยการเพิ่มและเฉลี่ยเสียง ข้อมูลจะถูกเขียนอย่างช้าๆ ไปยังเทปคอมพิวเตอร์ และถูกเล่นทันทีเพื่อสร้างเสียงดนตรี
    ในปัจจุบัน ความหลากหลายของโปรแกรมสำเร็จรูปได้ทำให้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีความเร็วสูง DSP ได้เข้ามาแทนที่ระบบเดิม และสร้างการจำลองแหล่งดนตรีอะคูสติกกายภาพหรือแหล่งกำเนิดเสียง อิเล็กทรอนิกส์ เช่นเครื่องสร้างสัญญาณ ตัวกรอง VCAs เป็นต้น โปรแกรมเชิงธุรกิจบางตัวเป็นซินธิไซเซอร์อนาล็อกคลาสสิกที่ค่อนข้างจะมีวิธี การที่ยุ่งยาก ซับซ้อน เริ่มต้นทุกๆ อย่างที่ ยามาฮ่า DX-7 ไปจนถึง ต้นกำเนิดของรูปแบบของ Moog โปรแกรมอื่นๆ อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถควบคุมการสังเคราะห์ดนตรีดิจิตอลได้อย่างสมบูรณ์ โดยต้องอาศัยการใช้งานที่ค่อนข้างซับซ้อนและยุ่งยาก

    คีย์บอร์ด

    คีย์บอร์ด (keyboard) เป็นคำในภาษาอังกฤษซึ่งในภาษาไทยนำมาใช้แบบทับศัพท์ อาจมีความหมายดังต่อไปนี้
    ในการพิมพ์
    • คีย์บอร์ด (คอมพิวเตอร์) อุปกรณ์ป้อนคำสั่งของคอมพิวเตอร์

    คีย์บอร์ด (คอมพิวเตอร์)

    คีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์
    คียบอร์ด หรือ แป้นพิมพ์ (ศัพท์บัญญัติใช้ว่า แผงแป้นอักขระ) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทุกเครื่องจำเป็นต้องมี เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการนำข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยปกติมักจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือใกล้เคียง มีแป้นต่างๆ ประมาณร้อยแป้นอยู่บนคีย์บอร์ด (ขึ้นอยู่กับผังแป้นพิมพ์) ซึ่งถอดแบบมาจากเครื่องพิมพ์ดีด ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับรับข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ แล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต จากนั้นจึงส่งให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล หรือใช้ควบคุมฟังก์ชันการทำงานบางอย่างของคอมพิวเตอร์ และเพื่อให้การป้อนข้อมูลที่เป็นอักขระและตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น คีย์บอร์ดจึงแยกแผงที่เป็นแป้นอักขระกับแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก

    ประวัติ

    คีย์บอร์ดของไมโครคอมพิวเตอร์ตระกูล IBM ในรุ่นแรกๆ ประมาณปี ค.ศ.1981 จะมีแป้นทั้งหมด 83 แป้น ซึ่งมีชื่อเรียกว่า คีย์บอร์ด PC/XT และในปี ค.ศ. 1984 ก็ได้ พัฒนาแป้นพิมพ์เพิ่มขึ้นเป็น 84 แป้นพิมพ์มีชื่อเรียกว่า คีย์บอร์ด PC/AT ต่อจากนั้นก็ได้ พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ ตามความต้องการของผู้ใช้เรียกว่า คีย์บอร์ด AT และพัฒนามาเป็น รุ่น PS/2 โดยมีแป้นพิมพ์เพิ่มขึ้นอีก 17 แป้นพิมพ์รวมแล้วก็เป็น 101 แป้นพิมพ์
    ในทางดนตรี
    • ลิ่มนิ้ว (musical keyboard) ก้านที่อยู่ติดกันเป็นแผง ตามระดับความถี่เสียง
    • เครื่องลิ่มนิ้ว (keyboard instrument) เครื่องดนตรีที่มีลิ่มนิ้วเป็นส่วนประกอบ มีหลายชนิดเช่นคีย์บอร์ดไฟฟ้า เชิร์ชออร์แกน เมโลดิกา หรือแอกคอร์เดียนบางชนิด
      • คีย์บอร์ดไฟฟ้า (electronic keyboard) เครื่องดนตรีแบบคีย์บอร์ดชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในการผลิตเสียง
        • ออร์แกนไฟฟ้า (electric organ) คีย์บอร์ดไฟฟ้าที่ผลิตเสียงออกมาคล้ายออร์แกน
          • อิเล็กโทน หรือ อีเล็กโทน (Electone) เครื่องหมายการค้าของออร์แกนไฟฟ้า ผลิตโดยยามาฮ่า


        No comments:

        Post a Comment