Music Genres

แนวเพลง (Music Genre)

     แนวเพลง (Music Genre) เป็น การจำแนกเพลงที่มีลักษณะพื้นฐานต่างๆร่วมกัน โดยทั้งนี้อาจไม่ได้คำนึงถึงเกี่ยวกับด้านดนตรีอย่างเดียว (เช่น ที่มาของเพลง และ เนื้อหาของเพลง เป็นต้น) อาจพูดได้ว่า แนวเพลงนั้นพิจารณาจาก เทคนิค ,สไตล์ ,บริบท ,ที่มา และ เนื้อหาของเพลง เป็นต้น

ประเภทของแนวเพลง

อาจแบ่งเป็นหมวดหมู่ใหญ่ๆ ได้ดังนี้
  • คลาสสิก
  • กอสเปล
  • แจ็ซ
  • ลาติน
  • บลูส์
  • รึทึมแอนด์บลูส์
  • พังก์
  • ร็อก
  • โกธิกร็อก
  • เมทัล
  • ป็อป
  • คันทรี
  • อีเลคโทรนิก
  • อีเลคโทรนิกแด็นซ์, เฮาส์ แทรนซ์, ยูเคการาจ, เทคโน, ดรัมแอนด์เบส,
  • อีเลคโทรนิก้า
  • เมโลดิก
  • สกา,เร้กเก้,ดั๊บ
  • ฮิปฮอป, แร็ป, บิ๊กบีต, ทริปฮอป
  • เวิลด์มิวสิก
  • ชิลล์เอาท์, ดาวน์เท็มโป, แอมเบียนต์
  • เพลงลูกกรุง
  • เพลงลูกทุ่ง
  • เพลงเพื่อชีวิต

คลาสสิก

คลาสสิก (classic) อาจหมายถึง
  • ดนตรียุคคลาสสิก
  • ดนตรีคลาสสิก
  • ศิลปะคลาสสิก
  • รถยนต์คลาสสิก
  • กีตาร์คลาสสิก
  • ภาษาคลาสสิก กลุ่มของภาษาที่มีการใช้กันมาเป็นระยะเวลานาน
  • คนแรกของหัวใจ คนสุดท้ายของชีวิต (ชื่ออังกฤษ: The Classic) ภาพยนตร์เกาหลี

ดนตรียุคคลาสสิก

     ยุคคลาสสิก (อังกฤษ: Classical period) เป็นยุคของดนตรีระหว่าง ค.ศ.1750-1820 ดนตรีมีการเปิดกว้างสู่ประชาชนเป็นดนตรีนอกโบสถ์ (secular music) มากขึ้น ดนตรียุคคลาสสิกมีลักษณะความเป็นจริง มีความสมดุล และแจ่มชัดในรูปแบบ ในยุคนี้ดนตรีบรรเลงมีความเด่นกว่าเพลงร้อง ดนตรียุคคลาสสิกเป็นดนตรีบริสุทธิ์ (absolute music) คือ ดนตรีที่ไม่มีจินตนาการอยู่เบื้องหลัง ไม่มีบทกวีประกอบ เป็นดนตรีที่มีแต่เสียงดนตรีบริสุทธิ์ ตรงข้ามกับดนตรีในยุคโรแมนติกที่เป็นดนตรีพรรณนา (program music) คือดนตรีที่มีเรื่องราว ยุคนี้มีกรุงเวียนนาของออสเตรียเป็นศูนย์กลางของดนตรี

เนื้อหา

  • 1 ลักษณะดนตรียุคคลาสสิก
  • 2 คีตกวีในยุคคลาสสิก
  • 3 บทประพันธ์ที่สำคัญในยุคคลาสสิก

ลักษณะดนตรียุคคลาสสิก

      ในยุคคลาสสิกเลิกนิยมการสอดประสานของทำนอง (Counterpoint) แต่หันมานิยมการใส่เสียงประสานแบบโฮโมโฟนี (Homophony) คือการเน้นทำนองหลักเพียงแนวเดียว โดยมีแนวเสียงอื่นประสานให้ทำนองไพเราะมากขึ้น มีแนวประสานเป็นคอร์ด หรืออาร์เพจจิโอ (arpeggio) หลายแนวที่มีจังหวะคล้ายกัน โดยเลิกใช้แนวเบสต่อเนื่อง (basso continuo) และความสำคัญของการด้นสด (Improvisation) เริ่มหมดไปในยุคนี้ เพราะดนตรีส่วนมากมีการเขียนเสียงประสานครบถ้วน คีตกวีจะระบุวิธีการบรรเลงอย่างชัดเจน
เกิด บทเพลงลักษณะใหม่ๆ ขึ้นในยุคนี้ คือ ซิมโฟนี คอนแชร์โต และโซนาตา ลักษณะการผสมวงมีกำหนดแน่นอนว่าเป็นวงเล็กหรือวงใหญ่ คือเป็นวงแชมเบอร์มิวสิก หรือวงออร์เคสตรา เพลงบรรเลงนิยมประพันธ์กันมากขึ้น เพลงร้องยังคงมีการประพันธ์อยู่เช่นเดิม โอเปร่า เป็นที่นิยมชมกันมาก ผู้ประพันธ์หลายคนจึงประพันธ์แต่โอเปร่าเป็นส่วนใหญ่ ลักษณะของโอเปร่าในยุคนี้จะเน้นเรื่องศิลปะการแสดงมากขึ้น มิใช่เน้นเพียงการร้องเท่านั้น
เครื่องดนตรีในยุคนี้ได้รับการพัฒนามากขึ้น ในวงออร์เคสตรามีการใช้เครื่องดนตรีครบทุกประเภท การใช้เครื่องดนตรี ในยุคคลาสสิกจะพบว่าใช้เปียโนเป็นส่วนมาก ไม่ค่อยมีการใช้ฮาร์ปซิคอร์ดอีก ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 มีการใช้เครื่องคลาริเน็ต ฟลูต และบาสซูน

คอร์ด

คอร์ด (ในภาษาไทยนิยมอ่านว่า "ขอด") เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ chord สามารถหมายถึง
  • คอร์ด (ดนตรี) การออกเสียงโน้ตดนตรีสามเสียงขึ้นไปพร้อมกัน
    • คอร์ดกีตาร์ คอร์ดที่เล่นบนกีตาร์
  • คอร์ด (เรขาคณิต) ส่วนของเส้นตรงภายในรูปวงกลม
  • คอร์ด (อากาศยาน) ความยาวตั้งแต่ส่วนหัวของปีกจรดส่วนท้ายของปีก
  • คอร์ด (ตารางแฮชแบบกระจาย) โพรโทคอลสำหรับรับส่งข้อมูลตารางแฮชแบบกระจาย

คีตกวีในยุคคลาสสิก

  • คริสตอฟ วิลลิบัลด์ กลุ๊ค (Christoph Willibald Gluck)
  • ฟรานซ์ โจเซฟ ไฮเดิน (Franz Joseph Haydn)
  • โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart)
  • ลุดวิก ฟาน เบโธเฟน (Ludwig van Beethoven)

บทประพันธ์ที่สำคัญในยุคคลาสสิก

  • Orfeo and Eurydice - กลุ๊ค
  • Symphony No.104 - ไฮเดิน
  • The Creation (Oratorio) - ไฮเดิน
  • String Quartet in G Major, Op.64 No.4 - ไฮเดิน
  • Symphony No.41 in C Major "Jupiter" K.551 - โมซาร์ท
  • Piano Concerto in C Major, K.467 - โมซาร์ท
  • String Quartet in G Major, K.387 - โมซาร์ท
  • The Marriage of Figaro (Opera) - โมซาร์ท
  • Don Giovanni (Opera) - โมซาร์ท
  • Thr Magic Flute (Opera) - โมซาร์ท
  • Requiem Mass, K.626 - โมซาร์ท
  • Piano Sonata in C Major, Op.2 No.3 - เบโธเฟน
  • Symphony No.1,2 - เบโธเฟน
  • Sonata in D Major, K.119 - สกาลัตตี
  • Concerto for Harpsichord or Piano and Strings in E-flat Major, Op.7 No.5 - บาค

ดนตรีคลาสสิก

วงซิมโฟนีออเคสตรา
     ดนตรีคลาสสิก (อังกฤษ: Classical music) เป็นรูปแบบหนึ่งของดนตรี ซึ่งมักจะกล่าวถึงดนตรีที่เป็นศิลปะของประเทศทางฝั่งตะวันตก
การ แสดงดนตรีคลาสสิกจะใช้เครื่องดนตรี 4 กลุ่ม กลุ่มแรก คือ เครื่องสาย (String) แบ่งออกเป็น ไวโอลิน วิโอล่า เชลโล และ ดับเบิลเบส กลุ่มที่สอง คือ เครื่องเป่าลมไม้ (Woodwind) เช่น ฟลูต คลาริเน็ต โอโบ บาสซูน ปิคโคโล กลุ่มที่สาม คือ เครื่องเป่าลมทองเหลือง (Brass) เช่น ทรัมเป็ต ทรอมโบน ทูบา เฟรนช์ฮอร์น กลุ่มที่สี่ คือ เครื่องกระทบ (Percussion) เช่น กลองทิมปานี ฉาบ กลองใหญ่ (Bass Drum) ไทรแองเกิล (Triangle) เมื่อเล่นรวมกันเป็นวงเรียกว่าวงดุริยางค์หรือ ออร์เคสตรา (Orchestra) ซึ่งมีผู้อำนวยเพลง (conductor) เป็นผู้ควบคุมวง

เนื้อหา

  • 1 ประวัติ และ เวลา
    • 1.1 แบ่งตามประเภทวงที่บรรเลง และประเภทของการแสดง
    • 1.2 แบ่งตามโครงสร้างบทเพลง (Form)
  • 2 รายชื่อคีตกวีแบ่งตามยุค
  • 3 คีตกวีชาวไทยที่ประพันธ์ดนตรีคลาสสิกในปัจจุบันที่มีงานดนตรีออกมาอย่างสม่ำเสมอ

ประวัติ และ เวลา

ดนตรีคลาสสิกแบ่งออกเป็นยุค ดังนี้
  1. ยุคกลาง (Medieval or Middle Age) พ.ศ. 1019 - พ.ศ. 1943)
ดนตรีคลาสสิกยุโรปยุคกลาง หรือ ดนตรียุคกลาง ถือว่าเป็นจุดกำเนิดของดนตรีคลาสสิก เริ่มต้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1019 (ค.ศ. 476) ซึ่งเป็นปีล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน ดนตรีในยุคนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อประกอบพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนา และคาดกันว่ามีต้นกำเนิดมาจากดนตรีในยุคกรีกโบราณ รูปแบบเพลงในยุคนี้จะเน้นที่การร้องเพลง โดยเฉพาะเพลงสวด (Chant) ที่ตอนปลายของยุคกลางเริ่มมีการร้องเพลงแบบสอดทำนองประสานด้วย
  1. ยุคเรเนสซองส์ (Renaissance) พ.ศ. 1943 - พ.ศ. 2143)
นับ เริ่มการนับเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1943 (ค.ศ. 1400) เมื่อเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงศิลปะ และฟื้นฟูศิลปะโบราณยุคโรมันและกรีก แต่ดนตรียังคงเน้นหนักไปทางศาสนา เพียงแต่เริ่มมีการใช้เครื่องดนตรีที่ หลากหลายขึ้น ลักษณะของดนตรีในสมัยนี้ยังคงมีรูปแบบคล้ายยุคกลางในสมัยศิลป์ใหม่ เพลงร้องยังคงนิยมกัน แต่เพลงบรรเลงเริ่มมีบทบาทมากขึ้น
  1. ยุคบาโรค (Baroque) พ.ศ. 2143 - พ.ศ. 2293)
ยุค นี้เริ่มขึ้นเมื่อมีการกำเนิดอุปรากรในประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2143 (ค.ศ. 1600) และ สิ้นสุดลงเมื่อ โยฮันน์ เซบาสเทียน บาค เสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2293 (ค.ศ. 1750) แต่บางครั้งก็นับว่าสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2273 (ค.ศ. 1730) เริ่มมีการเล่นดนตรีเพื่อการฟังมากขึ้นในหมู่ชนชั้นสูง นิยมการเล่นเครื่องดนตรีประเภทออร์แกนมากขึ้น แต่ก็ยังคงเน้นหนักไปทางศาสนา นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่น บาค วิวัลดี เป็นต้น
  1. ยุคคลาสสิก (Classical) พ.ศ. 2293 - พ.ศ. 2363)
เป็น ยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด มีกฏเกณฑ์ แบบแผน รูปแบบและหลักในการเล่นดนตรีอย่างชัดเจน ศูนย์กลางของดนตรียุคนี้คือประเทศออสเตรีย โดยเฉพาะที่กรุงเวียนนา และเมืองมานไฮม์ (Mannheim) เครื่องดนตรีมีวิวัฒนาการมาจนสมบูรณ์ที่สุด เริ่มมีการผสมวงที่แน่นอน คือ วงแชมเบอร์มิวสิก และวงออร์เคสตรา ซึ่งวงออร์เคสตราในยุคนี้มีการใช้เครื่องดนตรีครบทุกประเภท และยังถือเป็นแบบแผนของวงออร์เคสตราในปัจจุบัน นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่น โมซาร์ท เป็นต้น
  1. ยุคโรแมนติก (Romantic) พ.ศ. 2363 - พ.ศ. 2443)
เป็น ยุคที่มีเริ่มมีการแทรกของอารมณ์ในเพลง มีการเปลี่ยนอารมณ์ การใช้ความดังความเบาที่ชัดเจน และทำนอง จังหวะ ลีลาที่เน้นไปยังอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งต่างจากยุคก่อนๆซึ่งยังไม่มีการใส่อารมณ์ในทำนอง นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่น เบโทเฟน ชูเบิร์ต โชแปง วากเนอร์ บราห์มส์ ไชคอฟสกี้ เป็นต้น
  1. ยุคอิมเพรสชั่นนิสม์ (Impressionism) พ.ศ. 2433 - พ.ศ. 2453)
พัฒนา รูปแบบของดนตรีโดยนักดนตรีชาวฝรั่งเศส โดยมีเดอบุชซีเป็นผู้นำ ลักษณะดนตรีของยุคอิมเพรสชั่นนิสม์เต็มไปด้วยจินตนาการ อารมณ์ที่เพ้อฝัน ประทับใจ ต่างไปจากดนตรีสมัยโรแมนติกที่ก่อให้เกิดความสะเทือนอารมณ์
  1. ยุคศตวรรษที่ 20 ถึงปัจจุบัน (20th Century Music พ.ศ. 2443 - ปัจจุบัน)
นัก ดนตรีเริ่มแสวงหาแนวดนตรีที่ไม่ขึ้นกับแนวดนตรีในยุคก่อน จังหวะในแต่ละห้องเริ่มแปลกไปกว่าเดิม ไม่มีโน้ตสำคัญเกิดขึ้น (Atonal) ระยะห่างระหว่างเสียงกับเสียงเริ่มลดน้อยลง ไร้ท่วงทำนองเพลง นักดนตรีบางกลุ่มหันไปยึดดนตรีแนวเดิม ซึ่งเรียกว่าแบบนีโอคลาสสิก (Neo-Classic) นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่นอิกอร์ สตราวินสกี้ เป็นต้น

ร็อก

ร็อก
แนวเพลงแม่แบบ: ร็อกแอนด์โรล, อีเลกทริกบลูส์, ดนตรีโฟล์ก
แหล่งกำเนิดแนวเพลง: ต้นคริสต์ทศวรรษ 1950 ในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร
เครื่องดนตรี: กีตาร์ไฟฟ้า, กีตาร์เบส, กลองชุด, เครื่องสังเคราะห์เสียง, คีย์บอร์ด
กระแสความนิยม: ทั่วโลก
แนวเพลงที่ได้รับอิทธิพล: นิวเอจ - ซินธ์ป็อป
แนวเพลงย่อย
ไซ เคเดลิกร็อก - อัลเทอร์เนทีฟร็อก - พังก์ร็อก - เฮฟวีเมทัล - อาร์ตร็อก - คริสเตียนร็อก - ดีเสิร์ตร็อก - ดีทรอยต์ร็อก - เอกซ์เพอร์ริเมนทอลร็อก - การาจร็อก - เกิร์ลกรุป - แกลมร็อก - Group Sounds - กรันจ์ - ฮาร์ดร็อก - ฮาร์ตแลนด์ร็อก - อินสตรูเมนทอลร็อก -อินดี้ร็อก - แจงเกิลป็อป - เคราต์ร็อก - พาวเวอร์ป็อป - โปรโตพังก์ - ซอฟต์ร็อก - เซาเทิร์นร็อก - ดนตรีเสิร์ฟ - ซิมโฟนิกร็อก
แนวเพลงผสม
แร็ป ร็อก - บังก้าร็อก - อบอริจินอลร็อก - แอฟโฟร-ร็อก - อนาโตเลียนร็อก - บลูส์-ร็อก - บูกาลู - คันทรีร็อก - ฟลาเมนโก-ร็อก - โฟล์กร็อก - แกลมพังก์ - อินโด-ร็อก - พังก์ร็อก - แจ๊ซฟิวชัน - แมดเชสเตอร์ - เมอร์เซย์บีต - โพรเกรสซีฟร็อก - ปันตาร็อก - ราการ็อก - Raï rock - Rockabilly - Rockoson - Samba-rock - Space rock - Stoner rock - Sufi rock



ร็อก (อังกฤษ: Rock) เป็นแนวเพลงที่ได้รับความนิยมในกระแสหลักในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 มีต้นกำเนิดจากดนตรีร็อกแอนด์โรล ริธึมแอนด์บลูส์ ดนตรีคันทรีในคริสต์ทศวรรษ 1940 และ 1950 รวมถึงเพลงแนวโฟล์ก แจ๊ซและดนตรีคลาสสิก
ดนตรี เพลงร็อกมันวงไปด้วยเสียงกีตาร์แบบแบ็กบีตจากส่วนจังหวะของกีตาร์ เบสไฟฟ้า กลองและคีย์บอร์ด อย่างออร์แกน เปียโน หรือตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 ก็มีการใช้เครื่องสังเคราะห์เสียง ร่วมไปกับกีตาร์และคีย์บอร์ด ยังมีการใช้แซกโซโฟน และฮาร์โมนิกาในแบบบลูส์ก็มีใช้บ้างในท่อนโซโล่ ในรูปแบบร็อกบริสุทธิ์แล้ว ใช้ 3 คอร์ด จังหวะแบ็กบีตที่แข็งแรงและหนักแน่น รวมถึงมีเมโลดี้ติดหู
ใน ช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 เพลงร็อกพัฒนาจนแตกแยกย่อยเป็นหลายแนวเพลง และเมื่อรวมกับเพลงโฟล์กแล้วจึงเป็น โฟล์กร็อก รวมกับบลูส์เป็น บลูส์-ร็อก รวมกับแจ๊ซเป็น แจ๊ซ-ร็อก ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 ร็อกยังเกี่ยวข้องกับเพลงโซล ฟังก์และละติน เช่นเดียวกันในยุคนี้ร็อกยังได้เกิดแนวเพลงย่อยอีกหลายแนวเช่น ซอฟต์ร็อก เฮฟวีเมทัล ฮาร์ดร็อก โพรเกรสซีฟร็อกและพังก์ร็อก ส่วนแนวเพลงย่อยร็อกที่เกิดขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1980 เช่น นิวเวฟ ฮาร์ดคอร์พังก์และอัลเทอร์เนทีฟร็อก ในยุคคริสต์ทศวรรษ 1990 แนวเพลงย่อยที่เกิดเช่น กรันจ์ บริตป็อป อินดี้ร็อกและนูเมทัล
มี วงร็อกส่วนใหญ่ประกอบด้วย สมาชิกที่เล่นกีตาร์ไฟฟ้า นักร้องนำ กีตาร์เบสและกลอง ก่อตั้งเป็นวง 4 ชิ้น มีบางวงที่มีสมาชิกน้อยกว่าหรือมากกว่า ตำแหน่งเล่นดนตรีบางคนก็ทำหน้าที่ร้องก็มี ในบางครั้งอาจเป็นวง 3 คนหรือวงดูโอซึ่งอาจมีนักดนตรีเสริมเข้ามาอย่างกีตาร์ริธึมหรือคีย์บอร์ด บางวงอาจมีการใช้เครื่องดนตรีสายอย่างไวโอลิน เชลโล หรือเครื่องเป่าอย่าง แซกโซโฟน หรือทรัมเปตหรือทรอมโบน แต่มีวงไม่มากนักที่ใช้
อัลเทอร์เนทีฟ 
อัลเทอร์เนทีฟ
แนวเพลงแม่แบบ: พังก์ร็อก
โพสต์-พังก์
ฮาร์ดคอร์พังก์
แหล่งกำเนิดแนวเพลง: ต้นคริสตทศวรรษที่ 1980 สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา
เครื่องดนตรี: กีตาร์ – กีตาร์เบส – กลอง
กระแสความนิยม: รับความนิยมในวงแคบก่อนความสำเร็จของกรันจ์และบริทป็อป ในทศวรรษที่ 1990 และแผ่ขยายในที่สุด แม้ศิลปินบางคนจะคงอยู่ใต้ดิน
แนวเพลงย่อย
บริ ทป็อป – คอลเลจร็อก – ดรีมป็อป – กอธิกร็อก – กรันจ์ – อินดี้ป็อป – อินดี้ร็อก – น็อยส์ป็อป – เพสเลย์อันเดอร์กราวนด์ – โพสต์ร็อก – ชูเกรซิงทวีป็อป
แนวเพลงผสม
อัลเทอร์เนทีฟเมทัล – ไซโคบิลลี – อินดัสเทรียลร็อก – แมดเชสเตอร์ – โพสต์พังก์รีไววัล – Riot Grrrl
แนวเพลงในประเทศต่าง ๆ
Massachusetts – Seattle, Washington – Illinois – Maryland – Manchester, England
      อัลเทอร์เนทีฟ (อังกฤษ: Alternative) อาจเรียกเต็มๆว่า อัลเทอร์เนทีฟร็อก หรือในสหราชอาณาจักรเรียกว่า อินดี้ เป็นแนวเพลงร็อกแขนง หนึ่งที่เกิดขึ้นในทศวรรษที่ 80 และ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในทศวรรษที่ 90 คำว่าอัลเทอร์เนทีฟถูกคิดขึ้นในทศวรรษที่ 80 อธิบายถึงแนวเพลงได้รับแรงบันดาลใจจากพังค์ร็อก โดยอยู่ค่ายเพลงอิสระ ที่ไม่ได้อยู่ในกระแสนิยมในช่วงเวลานั้น ในความหมายทางด้านดนตรี อัลเทอร์เนทีฟประกอบด้วยเพลงหลายๆแนวรวมกันทั้ง กรันจ์, บริทป็อป, กอธิคร็อกอินดี้ป็อป ที่ถูกรวมกันโดยลักษณะพื้นฐานของพังค์ที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญของดนตรี อัลเทอร์เนทีฟร็อกในทศวรรษที่ 70 และ
ถึงแม้ว่าอัลเทอร์เนทีฟจะถูกจัดอยู่ในร็อก แต่ในบางครั้งก็ได้รับอิทธิพลจากดนตรีโฟล์ก, เร้กเก้, อีเลกโทรนิก และแจ๊ซ บ้าง

เฮฟวีเมทัล

เฮฟวีเมทัล
แนวเพลงแม่แบบ: ไซเคเดลิกร็อก
บลูส์-ร็อก
แหล่งกำเนิดแนวเพลง: ปลายทศวรรษที่ 1960 ในสหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา
เครื่องดนตรี: กีตาร์ไฟฟ้า - กีตาร์เบส - กลอง - เสียงร้อง - คีย์บอร์ด (บางโอกาส)
กระแสความนิยม: ทั่วโลก โดยมีจุดสูงสุดในสหรัฐอเมริกาช่วงกลางทศวรรษที่ 1980
แนวเพลงย่อย
อวองต์การ์ดเมทัล - แบล็กเมทัล - คลาสสิกเมทัล - เดธเมทัล - ดูมเมทัล - แกลมเมทัล - โกธิกเมทัล - กรูฟเมทัล - NWOBHM - พาวเวอร์เมทัล - สปีดเมทัล - สโตเนอร์เมทัล - ซิมโฟนิกเมทัล - แทรชเมทัล - ไวกิงเททัล
แนวเพลงผสม
อัลเทอร์เนทีฟเมทัล - แบล็กเคนด์เดธเมทัล - คริสเตียเมทัล - โฟล์กเมทัล - ฟังก์เมทัล - ไกรนด์คอร์ - กรันจ์ - อินดัสเทรียลเมทัล - เมทัลคอร์ - นีโอ-คลาสสิคัลเมทัล - นูเมทัล - โพสต์-เมทัล - โพรเกรสซีฟเมทัล - แร็ปคอร์ - สลัดจ์เมทัล


เฮฟวีเมทัล (อังกฤษ: Heavy metal) (ในบางครั้งจะเรียกสั้น ๆ ว่า เมทัล) เป็นแนวเพลงร็อกประเภทหนึ่งที่พัฒนาในช่วงปลายทศวรรษที่ 60 และต้นทศวรรษที่ 70 ด้วยรากฐานของดนตรี บลูส์-ร็อก และ ไซเคเดลิกร็อก โดยมีหลายวงได้พัฒนาเฮฟวีเมลทัล ให้มีความหนา, หนัก, ดนตรีที่เน้นกีตาร์และกลอง และลักษณะเฉพาะตัวที่มีการโซโล่กีตาร์ที่รวดเร็ว
เพลง แนวเฮฟวีเมทัลได้รับความนิยมจากแฟนทั่วโลก ที่แฟนเหล่านั้นจะเรียกตัวเองว่า เมทัลเฮดส์ หรือ เฮดแบงเกอร์ และถึงแม้ว่าวงเมทัลในช่วงต้น ๆ อย่าง เล็ด เซ็พเพลิน, แบล็ค แซบบาธ และ ดีพ เพอร์เพิล จะได้รับความสนใจจากกลุ่มคนฟังหลัก แต่ก็มีบ้างที่พวกเขาจะถูกด่าทอ

ประวัติ

ความ เป็นมานั้นเริ่มจาก กลุ่มศิลปินที่เดิมเล่นเพลงบลูส์ ในช่วงปี 1966 - 68 เช่น วงครีมซึ่งมี อีริค แคลปตัน เป็นมือกีตาร์และนักกีตาร์ไฟฟ้าที่ชื่อ จิมิ เฮนดริกซ์ ซึ่งใช้เครื่องช่วยขยายเสียงกีตาร์ไฟฟ้าให้มีเสียงอันดังสนั่น เกิดแนวทางใหม่ๆในการเล่นกีตาร์ไฟฟ้าของดนตรีร็อก เช่น การใช้เสียงหอนกลับ(Feedback) เสียงบิดเบือน (Distortion) หรือ เพี้ยน วงครีม มีเพลงฮิตที่ตามมาเช่น I feel free(1966) ,Sunshine of your love(1967),White room(1968) เป็นต้น โดยเฉพาะเฮ็นดริ๊กซ์นั้น เขามีการเล่นที่น่าตื่นตา เช่นการเล่นกีตาร์ด้วยฟัน เป็นต้น เพลงฮิตที่ตามมาของเขา เช่น Purple Haze(1967) , Hey Joe, The Wind Cries Mary,Voodoo Chile(1968)ซึ่งเพลงเหล่านั้นนับว่าเป็นเพลงแนวฮาร์ดร็อก ยุคแรกๆ ที่ติดอันดับ Top Chart ในยุคนั้น
ต่อมาได้ข้ามาถึงฝั่ง อเมริกา เมื่อดนตรีแนว ไซคเดลิค ได้เข้ามาอิทธิพลในอเมริกา วงอย่าง บลู เชียร์ ได้พัฒนาแนวดนตรีขึ้นมาอีกขั้น โดยจะมีความเป็นฮาร์ดร็อคมากยิ่ง ขึ้น ได้เปิดอัลบั้มแรกของพวกเขาในปี 1968 มีเพลงฮิตเช่น Summertimes Blues เป้นต้น ในปีเดียวกัน วง สเต็พเพ็นวูลฟ์ ได้มีเพลงฮิต ชื่อ Born to be Wild (1968)ซึ่งในเพลงนั้นมีวลีว่า Heavy Metal Thunder ซึ่งได้เอาเพลงฮุคท่อนนี้ มาใช้บัญญัติคำดนตรีแนวนี้ว่า เฮฟวี่เมทัล ในเวลาต่อมา ซึ่งทั้ง 2 วงนี้ได้นำเอาคีย์บอร์ดมาใช้ผสมกับดนตรีแนวนี้เพื่อความหนักหน่วงของดนตรี แนวนี้มากขึ้น
วง เล็ด เซ็พพลิน นับเป็นวงที่เริ่มบุกเบิกดนตรีเฮฟวี่เมทัล ยุคใหม่ เป็นที่รู้จักกันดีด้วยเสียงดนตรีอันดังสนั่น โดยพัฒนาแนวดนตรีบลูส์ของอังกฤษ ผสมกับ โฟล์ก ซึ่งพวกเขาตั้งวงกันเมื่อปี 1968 และมีเพลงฮิตในปีถัดมา ซึ่งมีเพลงแนวเฮฟวี่ร็อค อย่าง Communication Breakdown (1969) และเพลงที่หลายๆคนยกย่องกันว่าเป็นเพลงเฮฟวี่เมทัลขนานแท้ของวงนี้คือ Stairway to Heaven (1971) ซึ่งดนตรีของวงนี้มีลักษณะที่พิเศษกว่าวงฮาร์ดร็อกยุคก่อนๆคือ สไตล์การร้องเพลงของนักร้องนำคือ โรเบิร์ต แพลนท์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในการร้องแบบโหยหวนเต็มพลังอารมณ์ และ สไตล์การเล่นกีตาร์ของ จิมมี่ เพจที่ออกแนวโลดโผน เร้าใจ ซึ่งทำให้เป็นแรงบันดาลใจแก่วงเฮฟวี่ร็อครุ่นหลังๆ ต่อๆมา วง ดีพ เพอร์เพิล ซึ่งมาในรุ่นเดียวกัน ก็ปล่อยซิงเกอร์ออกมาคู่กับ วงเลด เซ็พพลิน ซึ่งวงนี้จะออกแนว ไซเคเดลิก หรือ ฮาร์ดร็อก มากกว่า ของช่วงยุคแรกๆ
วง แบล็ค แซบบาธได้ ช่วยบุกเบิกดนตรีแนวนี้ในอังกฤษเมื่อปี 1970 ซึ่งพัฒนาแนวไปอีกอีกขั้นหนึ่ง โดยลักษณะเด่นของวงนี้คือ เสียงกีตาร์ที่มีลักษณะเฉพาะของ โทนี่ ไอออมมี่ ซึ่งมีโทนเสียงกีตาร์ที่ต่ำและแตกพร่า ที่เกิดจากความผิดปกติของนิ้วของเขา และเนื้อหาของดนตรีที่ออกแนวที่เกี่ยวกับความน่าสะพรึงกลัว ความเป็นไปของสังคมในด้านลบ และอิทธิพลของยาเสพติดในยุคนั้น และความเป็นบลูส์ในเนื้อดนตรี เริ่มลดลง พวกเขามีเพลงฮิตอย่าง Paranoid (1970) ซึ่งต่อมาวงนี้ได้รับการกล่าวขวัญว่า เป็น วงดนตรีเฮฟวี่เมทัลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดวงหนึ่งของโลกตลอดกาล วงอื่นๆ ที่ได้รับอิทธิพลในข้างต้นนั้นวงอื่นๆ ก็มีเช่น ยูราย ฮีพ, สกอร์เปียนส์ ,ยูเอฟโอหรือแม้กระทั่งวงอย่าง ควีน เป็นต้น วงเหล่านี้ล้วนมาจากฝั่งยุโรปทั้งสิ้น โดยในฝั่งอมริกา ก็มีวงอย่างเช่น แกรนด์ฟังก์เรลโรด ,คิส,บลูออยส์เตอร์คัลต์ เป็นต้น
ในช่วงกลางทศวรรษ ที่ 70 จูดาส พรีสต์ ได้กระตุ้นการพัฒนาการของแนวเพลงนี้โดยละทิ้งอิทธิพลของเพลงแนวบลูส์ทิ้งไป และกระแสเฮฟวีเมทัลในสหราชอาณาจักร ก็ตามมาคล้าย ๆกัน คือรวมความรู้สึกของพังค์ร็อกเข้าไปและเพิ่มเน้นในเรื่องของความเร็วเข้าไป
วง เฮฟวีเมทัล ได้ก้าวสู่ความนิยมหลักในทศวรรษที่ 80 เมื่อมีการขยายไปของแนวเพลงย่อยเกิดขึ้น ความหลากหลายนี้ได้เพิ่มความก้าวร้าวและสุดขีดมากกว่าเมทัลในอดีต ที่มักจะจำกัดวงเฉพาะกลุ่มคนฟังใต้ดิน วง ไอร่อน เมเด้น ได้เป็นผู้นำดนตรีเฮฟวี่เมทัล แนวที่เรียกกันว่า NWOBHMหรือ New Wave Of British Heavy Metal ซึ่งจะไม่มีอิทธิพลของดนตรีบลูส์หลงเหลืออยู่เลย แนวนั้นจะก้าวร้าวขึ้น รวดเร็วยิ่งขึ้น และได้มีอิทธิพลหลักต่อแนวเพลงย่อยของดนตรีเฮฟวี่เมทัลในเวลาต่อมา ในที่นี้รวมถึง แกลมเมทัล และ แทรชเมทัล ก็ได้เข้าสู่กระแสหลักได้ ในปัจจุบัน แนวเพลงอย่าง นูเมทัล ก็ได้ขยับขยายไปจากเฮฟวีเมทัล

พังก์

พังก์ (Punk หรือ punk) อาจหมายถึง
  • พังก์ร็อก แนวดนตรีร็อกประเภทหนึ่ง
  • วัฒนธรรมพังก์ หมายถึงวัฒนธรรมย่อย ที่เกี่ยวกับพังก์ร็อก
  • แฟชั่นพังก์ การแต่งกายแบบพังก์ อยู่ในวัฒนธรรมพังก์
  • พังก์ (นิตยสาร) นิตยสารเกี่ยวกับพังก์ ในทศวรรษที่ 1970
  • พังก์ - ซิงเกิลของเฟอร์รี คอร์สเตน ในปี 2003 จากอัลบั้ม Right of Way
  • พังก์ - เพลงของวง Gorillaz ในอัลบั้มชุดแรก
  • พังก์'ด (Punk'd) รายการแกล้งดาราของเอ็มทีวี
  • ซีเอ็ม พังก์ นักมวยปล้ำมืออาชีพ
  • ดอนนี เดอะ พังก์

พังก์ร็อก

พังก์ร็อก
แนวเพลงแม่แบบ: ร็อกแอนด์โรล - ร็อกอะบิลลี - การาจร็อก - ผับร็อก - แกลมร็อก - โปรโตพังก์
แหล่งกำเนิดแนวเพลง: กลางทศวรรษที่ 70 ในสหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร และ ออสเตรเลีย
เครื่องดนตรี: เสียงร้อง - กีตาร์ - เบส - กลอง - อาจมีการใช้เครื่องดนตรีอื่นบ้าง
กระแสความนิยม: ขึ้น อันดับ 1 บนชาร์ทในสหราชอาณาจักรช่วงปลายทศวรรษที่ 70 และประสบความสำเร็จระดับนานาชาติสำหรับแนวป็อปพังก์และสกา กลางทศวรรษที่90-ศตวรรษที่ 20
แนวเพลงที่ได้รับอิทธิพล: นิวเวฟ - โพสต์-พังก์ - อัลเทอร์เนทีฟร็อก - อีโม
แนวเพลงย่อย
อะนาร์โค-พังก์ - อาร์ทพังก์ - การาจพังก์ - โกธิกร็อก - แกลมร็อก - ฮาร์ดคอร์ - ฮอร์เรอร์พังก์ - Oi! - Riot Grrrl - สเกตพังก์ - คริสเตียนพังก์ - นาซีพังก์
แนวเพลงผสม
แอนตี-โฟล์ก - เคลติกพังก์ - ชิคาโนพังก์ - คาวพังก์ - เดธร็อก - โฟล์กพังก์ - ป็อปพังก์ - ไซโคบิลลี - พังก์อะบิลลี - พังก์บลูส์ - พังก์เมทัล - สกาพังก์ - ทูโทน
     พังก์ร็อก (อังกฤษ: Punk rock) เป็นดนตรีร็อกประเภท หนึ่ง (โดยมากมักเรียกสั้นๆว่า พังก์) มีการเคลื่อนไหวและเป็นที่รู้จักในช่วงกลางทศวรรษที่ 70 พังก์ร็อกได้พัฒนาระหว่างปี 1974 และ 1977 ในสหรัฐอเมริกา,สหราชอาณาจักร และ ออสเตรเลีย โดยมีวงอย่าง เดอะ ราโมนส์, เซ็กซ์ พิสทอลส์ และ เดอะ แคลช ที่เป็นที่รู้จักในฐานะแนวหน้าของดนตรีประเภทนี้
ลักษณะดนตรีแบบ พังก์ร็อกมีลักษณะท่วงทำนองที่รุนแรง หยาบกระด้าง ด้วยความขาดทักษะของการเล่นดนตรี ส่วนการร้องก็จะเป็น "ตะโกน"หรือ "บ่น" และแฝงนัยยะของ "การต่อต้าน " และการยกย่อง "ความเป็นเลิศ" เครื่องดนตรีจะประกอบด้วย กีตาร์ไฟฟ้า 1 หรือ 2 ตัว ,เบสไฟฟ้าและชุดกลอง มักมีการเล่นแบบ 2 คอร์ด เพลงพังก์มักมีความยาวระหว่าง 2 ถึง 2 นาทีครึ่ง มีบางเพลงมีความยาวน้อยกว่า 1 นาทีก็มี เพลงพังก์ในช่วงแรกรับอิทธิพลจากร็อกแอนด์โรลคือมีท่อนประสานเสียง
พังก์ ร็อกกลายเป็นกระแสนิยมหลักในสหราชอาณาจักรตั้งแต่ ปลายทศวรรษที่ 70 แต่ความโด่งดังในที่อื่นมีในจำกัด จนกระทั่งทศวรรษที่ 80 พังก์ร็อกได้เป็นที่รู้จักในกลุ่มเล็กๆ ทั่วทุกมุมโลก ส่วนมากจะถูกปฏิเสธจากดนตรีกระแสหลัก ในช่วงปลายยุคทศวรรษที่ 70 ดนตรีพังก์ร็อกได้แตกแยกแขนง ไปหลากหลายทิศทาง เช่นเพลงแนว นิวเวฟ ,โพสต์-พังก์ โดยหลายวงได้ทำการทดลองแนวดนตรีไปในทิศทางอื่น เช่นแนวฮาร์ดคอร์พังก์ และ Oi! และ อะนาร์โค-พังก์ เป็นต้น
และพังก์ร็อกยุคใหม่ได้พัฒนาไปอีกขึ้น โดยเพลงแนวอัลเทอร์เนทีฟได้รับความนิยมเหมือนตอนที่ได้พังก์ร็อกรับความนิยมในช่วงแรก

เนื้อหา

  • 1 ลักษณะ
  • 2 ยุคก่อนพังก์ร็อก

    • 2.1 การาจร็อกและม็อด
    • 2.2 โปรโตพังก์
    • 2.3 ที่มาของคำว่าพังก์
  • 3 ประวัติ

    • 3.1 นิวยอร์ก
    • 3.2 สหราชอาณาจักรและออสเตรเลีย
    • 3.3 คลื่นลูกถัดไป
  • 4 ความหลากหลายของพังก์

    • 4.1 นิวเวฟ
    • 4.2 โพสต์-พังก์
    • 4.3 ฮาร์ดคอร์พังก์
    • 4.4 Oi!
    • 4.5 อะนาร์โค-พังก์
    • 4.6 ป็อปพังก์
  • 5 พังก์ยุคใหม่

    • 5.1 อัลเทอร์เนทีฟร็อก
    • 5.2 เควียร์คอร์และ riot grrrl
    • 5.3 อีโม
    • 5.4 พังก์รีไววัล
  • 6 พังก์ในประเทศไทย

ลักษณะ


ปกอัลบั้มแรกของ เดอะราโมนส์

     พังก์ยุคแรกมีจุดความก้าวร้าว ซึ่งดูไกลจากร็อกในต้นยุคทศวรรษที่ 70 ที่อ่อนไหวและฟังดูรื่นหู ทอม มี ราโมน มือกลองวงเดอะ ราโมนส์ เคยกล่าวไว้ว่า "ในช่วงแรกของการเริ่มต้น วงยุค 60 หลายวง ได้ปฏิรูปและมีความน่าตื่นเต้น แต่โชคไม่ดีที่อยู่ได้ไม่นาน พวกเรารู้ว่าต้องการสิ่งที่ต้องการคือความบริสุทธิ์ และไม่ต้องการ ร็อกแอนด์โรล"
จอห์น โฮล์มสตรอม บรรณาธิการนิตยสาร พังก์ แฟนไซน์ให้ความเห็นกับการเกิดของพังก์ร็อกว่า "พังก์ร็อกเกิดขึ้นเพราะดนตรีร็อกในช่วงนั้นดูน่าเบื่อ อย่าง บิลลี โจเอล ,ไซมอน แอนด์ การ์ฟังเกล ที่ถูกเรียกว่าร็อกแอนด์โรล โดยร็อกแอนด์โรลมีความหมายกับหลายๆคนว่า ดนตรีขบถและป่าเถื่อน" ดนตรีพังก์นั้นถือกำเนิดมาจากความคิดของคนหนุ่มชนชั้นกลางจนถึงชนชั้น กรรมาชีพโดยมีความปรารถนาที่จะหลีกหนีสังคมที่ไม่เคยเห็นอกเห็นใจหรือช่วย เหลือเกื้อหนุนต่อพวกเขาเลยและคิดว่าสิ่งที่พวกเขาคิดพูดและแสดงออกนั้น ไร้สาระโดยสิ้นเชิง
ในคำวิจารณ์ของโรเบิร์ต คริสต์เกาอธิบายไว้ว่า "มันก็คือวัฒนธรรมย่อยอย่างหนึ่งที่ปฏิเสธการเมือง ความสมบูรณ์แบบ และ นิทานปรัมปรางี่เง่าของพวกฮิปปี้" ในทางตรงกันข้ามแพตติ สมิธเอ่ยในรายการสารคดี 25 ปีของพังก์ว่า "พังก์และฮิปปี้มีจุดร่วมเหมือนกันคือ ต่อต้านร็อกแอนด์โรล ในบางครั้งก็ปฏิเสธไม่เฉพาะร็อกกระแสหลักและวัฒนธรรม" ในปี 1977 เมื่อพังก์ก้าวสู่กระแสหลักในสหราชอาณาจักร และถูกเรียกว่า "ปีศูนย์" (Year Zero)  การหวนสู่ความหลังถูกทิ้งไป แต่ได้รับแนวความคิดแบบไร้จริยธรรมเข้าไป โดยวงเซ็กซ์ พิสทอลส์มีคำขวัญว่า "ไร้อนาคต" (No Future)
วงพังก์มักเลียนแบบโครงสร้างดนตรีที่เปลือย เปล่าและการเรียบเรียงดนตรีของดนตรีแนวการาจร็อก ในช่วงทศวรรรษที่ 60 นิตยสารพังก์ ไซด์เบิร์นส ในปี 1976 ได้ล้อเลียนโดยภาพวาด 3 คอร์ด มีคำอธิบายว่า "นี่คือคอร์ด นี่อีกคอร์ด และนี่คอร์ดที่สาม ตอนนี้ฟอร์มวงได้แล้ว"
เครื่องดนตรีจะประกอบด้วย กีตาร์ไฟฟ้า 1 หรือ 2 ตัว ,เบสไฟฟ้า,ชุดกลอง ในช่วงแรกพังก์ร็อกดูสับสน จอห์น โฮล์มสตรอม กล่าวว่า "พังก์คือร็อกแอนด์โรลในสายตาคนที่ไม่รู้เรื่องดนตรีมากนัก แต่รู้สึกได้ถึงความต้องการที่จะปลดปล่อยตัวเองในดนตรี" การร้องของพังก์บางครั้งฟังเหมือนเสียงขึ้นจมูก และบ่อยครั้งที่จะตะโกนแทนที่จะร้อง ความซับซ้อนของกีตาร์บ่งบอกถึงความหลงผิดในตัวเอง
เบสกีตาร์มักจะเป็น พื้นฐานทั่วไปโดยมีส่วนช่วยพยุงเมโลดี้ของเพลง มีมือเบสวงพังก์บางวงอย่าง ไมค์ วัตต์ และ ฌอง-แจ็คส์ เบอร์เนล แห่งวงเดอะ สเตรนเจอร์ส จะเน้นเบสขึ้นมา มือเบสหลายๆวงมักใช้ปิ๊กมากกว่าการใช้นิ้วเนื่องจากความรวดเร็วต่อเนื่องของ โน้ต กลองโดย ทั่วไปจะหนักและดูแห้ง จะมีการปรับแต่งเพียงเล็กน้อย เพลงพังก์มักมีความยาวระหว่าง 2 ถึง 2 นาทีครึ่ง มีบางเพลงมีความยาวน้อยกว่า 1 นาทีก็มี เพลงพังก์ในช่วงแรกรับอิทธิพลจากร็อกแอนด์โรลคือมีท่อนประสานเสียง อย่างไรก็ตามวงพังก์รุ่นใหม่อาจรวมแนวเพลง โพสต์-พังก์ และ ฮาร์ดคอร์พังก์ จะไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ดังกล่าว ฮาร์ดคอร์พังก์ กลองจะเร็วขึ้น เนื้อเพลงจะกึ่งตะโกน เสียงกีตาร์ฟังดูก้าวร้าว
ภาคเนื้อร้องโดยทั่วไปจะเป็นการพูดกันตรงๆ โดยจะวิจารณ์สังคมการเมือง เช่นเพลง Career Opportunities ของวงเดอะ แคลช,Right to Work ของวงเชลซี เป็นต้น ยังมีเพลงที่มีเนื้อหาตึงเครียดในลักษณะต่อต้านความรัก พรรณาถึงความสัมพันธ์ของชายหญิงและเรื่องเพศสัมพันธ์อย่างเพลง Love Comes in Spurts ของวงเดอะวอยดอยด์ส
วี. เวลกล่าวว่า "พังก์เป็นนักปฏิวัติวัฒนธรรม เผชิญหน้ากับความมืดของประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม พวกอนุรักษ์นิยม ข้อห้ามทางเพศ ได้ขุดในสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนออกมาโดยคนรุ่นใหม่อย่างสมบูรณ์"
รูป แบบการแต่งกายของชาวพังก์ พวกเขาใส่ที-เชิร์ต สวมแจ็คเก็ตมอเตอร์ไซค์ กางเกงยีนส์ เป็นการยกย่องอเมริกันกรีซเซอร์ในยุคทศวรรษที่ 50 ในยุคทศวรรษที่ 80 การสักและการเจาะได้รับความนิยมในหมู่นักดนตรีพังก์และแฟนเพลง

ยุคก่อนพังก์ร็อก

การาจร็อกและม็อด

ใน ช่วงต้นและกลางยุคทศวรรษที่ 60 วงดนตรีการาจร็อก ได้ยอมรับว่าเป็นต้นกำเนิดของดนตรีพังก์ เริ่มต้นในหลายๆที่ทางอเมริกาเหนือ วงเดอะ คิงส์เม็น การาจร็อกจากพอร์ทแลนด์ โอรีกอน ได้เปิดตัวด้วยเพลงดัง Louie, Louie เพลงเก่าที่นำมาทำใหม่ในรูปแบบพังก์ร็อก
รูปแบบซาวนด์ที่น้อยของวงการาจร็อกหลายๆวงได้รับอิทธิพลมาจาก วงเดอะ คิงก์ส กับเพลงดัง You Really Got Me และ All Day and All of the Night ในปี 1964 ได้ถูกบรรยายว่าเป็นต้นแบบของเพลง 3 คอร์ด ของวงเดอะ ราโมนส์ในปี 1978 กับเพลง I Don't Want You
วงเดอะ ฮูกับเพลง My Generation ก็ได้อิทธิพลมาจากวง เดอะ คิงก์ส ซึ่งวงเดอะ ฮูและ เดอะ สมอลล์ เฟสเซส เป็นวงร็อกยุคก่อนหน้าที่เป็นที่รู้ดีกันว่ามีอิทธิพลให้กับวง เซ็กซ์ พิสทอลส์ ในปี 1966 ม็อดได้ลดความนิยมในสหรัฐอเมริกาไป การาจร็อกในอเมริกาเสื่อมความนิยมไปในไม่กี่ปี แต่แนวดนตรีใหม่ที่มาแทนคือ การาจ ซิช (garage psych) เช่นวง เดอะ ซีด ที่ต่อมาเป็นที่รู้จักในแนว โปรโตพังก์

โปรโตพังก์

ใน ปี ค.ศ. 1969 มีวงจากมิชิแกน 2 วงได้ออกอัลบั้มแนวโปรโตพังก์ ถือได้ว่ามิชิแกนมีความเกี่ยวข้องกับศูนย์กลางของโปรโตพังก์ ต่อมาวง MC5 จากดีทรอยต์ ออกอัลบั้ม Kick Out the Jams "ทางวงได้ตั้งใจให้ออกมาหยาบและดิบ" เขียนโดยนิตยสารโรลลิ่ง สโตนโดย เลสเตอร์ แบงส์ "เพลงส่วนใหญ่จะค่อนข้างไม่แตกต่างกันเลย เพลงมีโครงสร้าง 2 คอร์ดแบบดิบๆ คุณจะเคยได้ยินมาก่อนกับวงอย่าง ซีดส์ ,บลู เชียร์,เควสชัน มาร์ค แอนด์ เดอะ มิสทีเรียนส์ และ เดอะ คิงส์เม็น ความแตกต่างคือ การหลอกลวง โดยปกปิดบางส่วนของความซ้ำซากด้วยเสียงที่น่าเกลียด ในท่อน "I Want You Right Now" ฟังดูเหมือนเพลง I Want You ของวงเดอะ ทร็อกส์"
ฤดู ร้อนในปีนั้น วงเดอะ สตูกส์ ได้ออกอัลบั้มแรกโดยมีอิกกี้ ป็อป เป็นนักร้องนำ อัลบั้มนี้โปรดิวซ์โดย จอห์น เคล อดีตสมาชิกวงร็อก เดอะ เวลเว็ต อันเดอร์กราวนด์ อัลบั้มนี้เป็นแรงบันดาลใจไม่ทางตรงก็ทางอ้อมให้กับการเกิดของดนตรีพังก์
ทาง ฝั่งตะวันออก วงนิวยอร์กดอลส์ ได้ถือกำเนิดแฟชั่นร็อกแอนด์โรลแบบดุร้าย ที่ต่อมารู้จักกันในนามของ แกลมพังก์ (glam punk)  ในโอไฮโอ วงร็อกอันเดอร์กราวนด์ได้ปรากฏออกมา นำโดย เดโว, เดอะ อีเลทริค อีลส์ และ ร็อกเก็ต ฟอร์ม เดอะ ทูมบส์ ในลอนดอน ดนตรีร็อกได้กลับคืนสู่สามัญ และได้ปูพื้นให้นักดนตรีหลายคนสู่วงการเพลงพังก์เช่นวงเดอะ สเตรนเจอร์ส,ค็อค สปาร์เรอร์ และ โจ สตรัมเมอร์ ซึ่งต่อมาคือสมาชิกวงเดอะ แคลช
ในออสเตรเลีย วงการาจร็อกรุ่นใหม่หลายวงได้เป็นแรงบันดาลใจให้กับ เดอะ สตูกส์ และ MC5 ที่มีซาวน์ดนตรีที่ใกล้เคียงกับความเป็นพังก์ที่สุด ในบริสเบน วงเดอะ เซนตส์ ได้เล่นเพลงดิบๆแบบอังกฤษ และได้ทัวร์ในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ในปี 1965 สถานีวิทยุเบิร์ดแมนได้เล่นเพลงการแสดงสดเล็กๆนี้ด้วย แต่ความคลั่งไคล้ได้ตามมาถึงซิดนีย์

ที่มาของคำว่าพังก์

ก่อน กลางทศวรรษที่ 70 คำว่าพังก์ เป็นคำเก่าแก่ที่มีความหมายคลุมเครือ มักใช้อธิบายถึงผู้ชายหากิน พวกนักเลงอันธพาล นักเลงหัวไม เลคส์ แม็คนีลอธิบายว่า "เมื่อคุณดูรายการโทรทัศน์เกี่ยวการตามล่าคนร้ายของตำรวจ เวลาตำรวจจับผู้ร้าย พวกเค้ามักจะพูดว่า 'you dirty Punk' ถ้าครูเรียกคุณอย่างนั้นก็หมายความว่า คุณต่ำที่สุด" ความหมายของคำว่าพังก์ชัดเจนขึ้นโดย นักวิจารณ์เพลงร็อก เดฟ มาร์ชในปี 1970 เมื่อเขาได้อธิบายลักษณะดนตรีและทัศนคติของวงเควสชัน มาร์ค แอนด์ เดอะ มิสทีเรียนส์ เดือน มิถุนายน 1972 นิตยสารแฟลชได้จัดอันดับ "เพลงพังก์สิบอันดับ" แห่งทศวรรษที่ 60
ในปี 1975 พังก์ได้ใช้อธิบายถึงการกระทำหลายๆอย่างของวง แพตติ สมิธ กรุ๊ป ,เดอะ เบย์ ซิตี้ โรลเลอร์ส และ บรู๊ซ สปริงสทีน ที่นิวยอร์ก คลับ CBGB คลับที่หาแนวเพลงใหม่ๆ เจ้าของคลับคือ ฮิลลี คริสตัล ส่วนจอห์น โฮล์มสตรอมได้ให้เครดิต นิตยสารอควาเรียนเกี่ยวกับพังก์ว่า "เป็นการอธิบายว่าอะไรเกิดขึ้นใน CBGB บ้าง" ซึ่งต่อมา โฮล์มสตรอมร่วมกับ แม็คนีล และ เก็ด ดันน์ ทำนิตยสารที่ชื่อว่า "พังก์" เปิดตัวปลายปี 1975 ซึ่งถือเป็นจุดสำคัญของคำว่าพังก์ โฮล์มสตรอมกล่าวว่า "มันเป็นอะไรที่ดีที่คำนี้มันดังขึ้นมา เราคิดคำนี้ได้ก่อนที่ใครจะคิดได้ เราต้องการขจัดร็อกแอนด์โรลงี่เง่าออกไป สิ่งที่เราต้องการคือความสนุกและน่าตื่นเต้น"

ประวัติ

นิวยอร์ก



คลับ CBGB ในนิวยอร์ก

     ต้นกำเนิดของนิวยอร์กพังก์สามารถสืบต้นตอไปถึงปลายยุคทวรรษที่ 60 กับวัฒนธรรมขยะ และ ต้นยุคทวรรษที่ 70 กับการเคลื่อนไหวของอันเดอร์กราวนด์ร็อก มีจุดศูนย์กลางอยู่แถว เมอร์เซอร์ อาร์ทส เซ็นเตอร์ ใน กรีนิช วิลเลจที่ที่ นิวยอร์ก ดอลส์ได้แสดง ในปี 1974 CBGB ได้กลายเป็นสถานที่ประจำของวงดนตรีที่เล่นเพลงเสียงดังๆ และดนตรีที่ซับซ้อน ริชาร์ด เฮลล์ได้ริเริ่มรูปแบบการแต่งตัวแบบ แจ็คเก็ตหนัง เสื้อทีเชิร์ตขาดๆ กางเกงขาสั้น ทรงผมที่ดูสกปรก
ต้นปี 1975 เฮลล์ได้เขียนเพลง Blank Generation โดยได้บันทึกเสียงกับวงใหม่ เดอะ วอยดอยด์ส ที่ออกวางขายในปี 1976 เดือน สิงหาคม 1975 บลอนดีย์ได้ออกซิงเกิ้ล Little Johnny Jewel คำวิจารณ์ของ จอห์น วอล์กเกอร์อธิบายว่า "นี่ถือเป็นจุดเปลี่ยนของเพลงในนิวยอร์ก" อีกคนนึงที่เล่นประจำที่คลับนี้คือ แพตติ สมิธ ที่ได้พัฒนาในรูปแบบของผู้หญิง อัลบั้มแรกคืออัลบั้ม Horses ที่โปรดิวซ์โดย จอห์น เคล ออกวางจำหน่ายเดือนพฤศจิกายน 1975
ไซร์ เรคคอร์ดส ได้ออกแผ่นแรกกับ เดอะ ราโมนส์ ซิงเกิ้ล Blitzkrieg Bop ถือเป็นการเปิดตัวของพังก์อย่างเป็นทางการ ออกวางขายช่วงเดือนธันวาคม และมีนิตยสารใหม่ๆเกิดขึ้นพร้อมกับศิลปินอย่าง เวลเว็ต อันเดอร์กราวนด์ ,เดอะ สตูกส์ และ นิวยอร์ก ดอลลส์ โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ CBGB และ แม็กซ์ แคนซัส ซิตี้ มีศิลปินเช่น เดอะ ราโมนส์ ,เทเลวิชัน,เดอะ ฮาร์ทเบรกเกอร์ส,แพตติ สมิธ,บลอนดีย์,ทอล์กกิง เฮดส์ และอื่น คำว่าพังก์เริ่มเป็นที่รู้จักทั่วไป ริชาร์ด เฮลล์ได้ริเริ่มลักษณะเฉพาะตัวขึ้นมา

สหราชอาณาจักรและออสเตรเลีย

หลัง จากที่ได้ทำงานจัดการกับวงนิวยอร์ก ดอลส์ ในระยะเวลาสั้นๆ มาลคอล์ม แม็คลาเรน ได้กลับมาลอนดอนเดือนพฤษภาคม 1975 เขาได้รับแรงบันดาลใจจากสิ่งที่เขาเห็นใน CBGB โดยเขาได้เปิดร้าน SEX (ร่วมกับวิเวียน เวสต์วูด) ร้านเสื้อผ้าที่ปฏิวัติวงการแฟชั่น ขายเสื้อผ้าขาดๆ เครื่องห้อยต่างๆ ชุดหนังต่างๆ โดยต่อมาได้รับความนิยมในหมู่พังก์ เขาก็ได้มีส่วนร่วมกับวง เดอะ สแวงเกอร์ส ที่ต่อมาคือวง เซ็กซ์ พิสทอลส์
4 กรกฎาคม ค.ศ. 1976 วงเดอะ ราโมนส์และเดอะ สเตรนเจอร์ส ได้เปิดคอนเสิร์ตที่ราวด์เฮาส์ในลอนดอน โดยมีผู้ชมร่วม 2 พันคน คืนต่อๆมา สมาชิกวงเซ็กซ์ พิสทอลส์ และเดอะ แคลช ได้ร่วมคอนเสิร์ตกับวงเดอะ ราโมนส์ คอนเสิร์ตเหล่านี้เป็นจุดสำคัญของวงการพังก์ร็อกในอังกฤษที่เพิ่งเริ่มต้น ขึ้น หลายเดือนผ่านไปมีวงพังก์เกิดขึ้นอีกหลายวง โดยได้รับแรงบันดาลใจจากวงเซ็กซ์ พิสทอลส์ ในลอนดอนได้เกิดวงอย่าง เดอะ แดมน์ด,เดอะ ไวเบรเตอร์ส,เดอะ สลิตส์ ,เอกซ์-เรย์ สเป็กซ์ ,ซุสซีย์ แอนด์ เดอะ บานชีส์,อีทเตอร์, เดอะ ซับเวอร์วีฟส์ ,เดอะ แอดเวิร์ตส์, และในเชลซีมีวงเกิดอย่าง เจเนอเนอเรชัน เอกซ์ และวง แชม69 ก็เริ่มต้นทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมือง เฮอร์แชม ส่วนในแมนเชสเตอร์ เกิดวงอย่าง เดอะ บัซค็อกส์ ที่ต่อมาคือวง วอร์ซอว์ และจอย ดิวิชัน ที่หลายๆที่ในอังกฤษ วงเหล่านี้ได้ทดลองดนตรีทดลอง และมีหลายวงอย่าง เดอะ แจม ,ค็อก สปาร์เรอร์ ก็ได้ลองมาสู่กระแสพังก์
คลินตัน เฮย์ลิน นักเขียนคอลัมน์ร็อกได้อธิบายไว้ว่า "วงแกล็มเหล่านี้ได้รับอิทธิพลของวัยรุ่นต้นยุคทศวรรษที่ 70 อย่าง ที.เร็กซ์,สเลด และ ร็อกซี มิวสิก
ในขณะที่พังก์ได้เข้าถึงสหราชอาณาจักร เช่นเดียวกับวงการใต้ดินในออสเตรเลีย
กลับมาสู่ที่อังกฤษ เพลง Anarchy in the U.K. โดยเซ็กซ์ พิสทอลส์ ขึ้นชาร์ทในเดือน กันยายน 1976 และวงเดอะ เซนต์ เป็นวงพังก์วงแรกที่ไม่ใช่วงจากอเมริกาที่ออกขายซิงเกิ้ล คือเพลง (I'm) Stranded ทางฝั่งออสเตรเลีย ที่เพิร์ธ วงพังก์อย่าง ชีพ นาสตีส์ได้เริ่มฟอร์มวง
เดอะ แดมน์ด เป็นวงพังก์จากอังกฤษวงแรกที่ออกซิงเกิ้ลโดยออกเพลง New Rose ต่อมาเซ็กซ์ พิสทอลส์ ,เดอะ แคลช,เดอะ แดมน์ด และ เดอะ ฮาร์ทเบรกเกอร์ส ได้รวมกันออกทัวร์ที่ชื่อว่า Anarchy Tour แสดงคอนเสิร์ตทั่วสหราชอาณาจักร โดยหลายที่ในทัวร์ถูกยกเลิกไปเนื่องจากสื่อได้วิจารณ์ในแง่ร้าย

คลื่นลูกถัดไป


วงมิสฟิตส์ ในปี 1979

    ในขณะที่กระแสพังก์ร็อกได้แพร่ขยายอย่างรวดเร็วในสหราชอาณาจักรตั้งแต่ ช่วงปี 1976 โดยในปี 1977 วงรุ่นใหม่ได้รับความนิยมทั้งในสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และ แคนาดา กระแสนิยมอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ มีการจัดการอย่างกระตือรือร้นโดย เจ้าของคลับ ผู้จัดคอนเสิร์ต ในสถานที่ต่างๆอย่าง โรงเรียน โรงรถ โกดังเก็บของ มีการโฆษณาโดยใช้ใบปลิว ใบปิด นิตยสารสำหรับแฟนเพลง เป็นลักษณะแบบ D.I.Y (do-it-yourself) ซึ่งต่อต้านการค้าแบบธุรกิจ
    ความแพร่หลายของแคลิฟอร์เนียพังก์เริ่มขึ้นและพัฒนาในช่วงต้นปี 1976 มีวงอย่าง เดอะ เวียโดส,เดอะ ดิลส์, เดอะ สครีเมอร์ส, เดอะ ดิกกีส์,เอกซ์, เดอะ โก-โกส์, เดอะ ซีโรส์ และ เดอะ แบกส์ ในแคลิฟอร์เนีย และพังก์ได้เติบโตในซานฟรานซิสโก ,วอชิงตัน ดีซี ส่วนในนิวยอร์กที่ที่เป็นต้นกำเนิดของพังก์ มีความนิยมในแนวย่อยใหม่อย่าง "โนเวฟ" แต่วงดั้งเดิมอย่าง เดอะ ราโมนส์ ก็คงยังเล่นอยู่ ในนิวเจอร์ซี วงมิสฟิตส์ ได้ถือกำเนิดขึ้นในช่วงนั้น โดยในปี 1978 ได้พัฒนาแนวทางจนเป็นที่รู้จักกันในแนว ฮอร์เรอร์พังก์ ในแคนาดา ได้กำเนิดวงพังก์อีกมากมาย เช่น เดอะ ดีมิกซ์ ,เดอะ โกเวอร์เมน เป็นต้น
    ในช่วงปี 1978-79 ฮาร์ดคอร์พังก์ได้เกิดขึ้นในแคลิฟอร์เนียใต้และวอชิงตัน ดีซี ฮาร์คอร์พังก์มีลักษณะดนตรีแบบใหม่ที่ดูวัยรุ่นกว่า นิยมในหมู่ชานเมือง ต่อต้านพวกปัญญาชน และรุนแรงยิ่งกว่า ในลอสแอนเจลิส พังก์เป็นที่รู้จักในชื่อ ฮอลลีวูดพังก์ และ บีชพังก์ โดยเป็นที่นิยมในแถบเซาธ์เบย์ และ ออเรนจ์ เคาน์ตี และด้วยความโดนเด่นของฮาร์ดคอร์พังก์ วงแคลิฟอร์เนียพังก์เริ่มที่จะกลับมาทำฮาร์ดคอร์พังก์ เช่นวงเดอะ โก-โกส์ และ เอกซ์ ซึ่งประสบความสำเร็จในกระแสหลัก
    พังก์ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในกระแสเพลงใต้ดินในอเมริกาเหนือและ ออสเตรเลียในช่วงยุคทศวรรษที่ 70 ในสหราชอาณาจักรพังก์ในอังกฤษมีความหลากหลายมากขึ้น และเข้าสู่กระแสหลัก วงเดอะ แคลชกับอัลบั้มแรก สามารถขึ้นชาร์ทอันดับที่ 12 ในเดือนพฤษภาคม 1977 วงเซ็กซ์ พิสทอลส์ มีซิงเกิ้ลฮิตอันดับ 2 คือเพลง God Save the Queen และมีวงหลายๆวงเกิดขึ้น ในชื่อที่เป็นที่รู้จักในแนว "สตรีทพังก์" ความหลากหลายของเพลงขยายไปมากขึ้นโดยมีการใช้เครื่องดนตรีที่ซับซ้อนยิ่ง ขึ้น วงรุ่นใหม่หลายๆวงใช้เครื่องสังเคราะห์เสียง วงเดอะ แคลชได้นำเพลง Police and Thieves มาทำใหม่ในสไตล์จาไมกา เร้กเก้ ส่วนวงยุคแรกๆอย่าง เดอ สลิตส์ และ เดอะ โพลิส ได้ทำเพลงผสมพังก์ในสไตล์เร้กเก้และสกา เป็นเพลงรูปแบบใหม่ ในชือแนว "ทู โทน" อย่างเช่นวง เดอะ สเปเชียลส์,เดอะ บีท ,แมดเนสส์ เป็นต้น
    ในเยอรมนีตะวันตก วงไอดีล,เอกซ์ตราบรีต และ นีนา ได้รับความนิยมในเพลงกระแสหลัก ส่วนในฝรั่งเศส ศิลปินแนวพรี-พังก์อย่าง ลู รีดได้เรียกตัวเองว่า les punk พังก์ยังได้รับความนิยมในประเทศอื่นๆอย่าง เบลเยียม ,เนเธอร์แลนด์,ญี่ปุ่น,สวิตเซอร์แลนด์ และ สวีเดน

ความหลากหลายของพังก์

    ในช่วงปลายยุคทศวรรษที่ 70 ดนตรีพังคได้แตกแยกแขนง ไปหลากหลายทิศทาง โดยได้ผสมผสานความเป็นศิลปะ ของกลุ่มคนชั้นกลางผู้ต้องการความแตกต่าง และกลุ่มคนชั้นแรงงาน นี่เป็นที่มาของเพลงแนว นิวเวฟ และ โพสต์-พังก์ โดยหลายวงได้ทำการทดลองแนวดนตรีไปในทิศทางอื่น เช่นแนว ฮาร์ดคอร์พังก์ และ Oi! และ อะนาร์โค-พังก์ ในบขณะที่ ป็อปพังก์มีคนเคยกล่าวว่า เป็นการรวมระหว่างแอ็บบ้า กับ เซ็กซ์ พิสทอลส์
    ความหลายหลายได้เกิดขึ้น หลายๆแนวเริ่มรวมกันกับแนวอื่น อย่างเช่นวงเดอะ แคลชในอัลบั้ม London Calling ได้รวมเร้กเก้ สกา อาร์แอนด์บี ร็อกอะบิลิตี้ กับพังก์ ซึ่งถือว่าเป็นอัลบั้มที่ดีที่สุดอัลบั้มหนึ่งก็ว่าได้

นิวเวฟ

     นิวเวฟเป็นแนวเพลงย่อยของพังก์แรกๆ ในช่วงนั้นวงอย่าง ทอล์กกิง เฮดส์,บลอนดีย์,เดโว และ เดอะ โพลิซ ได้ทำให้ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง โดยเพลงมีจังหวะที่สามารถเต้นรำได้ ทางภาคโปรดักชันที่ดูสละสลวยขึ้นกว่าพังก์ ทำให้เรียกว่า นิวเวฟ โดยมีองค์ประกอบของพังก์ยุคเริ่มแรกอยู่และแฟชั่น บวกความเป็นป็อปเข้าไปและดูอันตรายน้อยลง ตัวอย่างวงนิวเวฟเช่น เดอะ คาร์ส และ เอลวิส คอสเตลโลที่ได้รับความนิยมทั้งอังกฤษและอเมริกา
ดนตรีนิ วเวฟได้เข้าสู่แนวดนตรีกระแสหลัก มีพังก์เป็นต้นแบบ มีการรวมแนวเพลงอย่าง ทูโทนสกา เป็นต้น ต่อมากระแสเพลงแนวนิวโรแมนติกได้รับความนิยม เช่นวง ดูแรน ดูแรน และวงซินธ์ป็อปอย่าง ดีเพเช โมด ดนตรีนิวเวฟกลายเป็นวัฒนธรรมป็อปและการเกิดของสถานีโทรทัศน์ทางดนตรีช่อง เอ็มทีวี ในปี 1981 ที่ได้เล่นเพลงประเภทนิวเวฟอยู่

โพสต์-พังก์

 
โพสต์-พังก์
     ในสหราชอาณาจักรแนวโพสต์-พังก์ ได้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง มีวงอย่าง เดอะ ฟอลล์ ,จอย ดิวิชัน,แกงก์ ออฟ โฟร์ เป็นต้น มีบางวงอย่าง ซุสซีย์ แอนด์ เดอะ บานชีส์ และ เดอะ สลิทตส์ได้ แปลจากวงพังก์เป็นวงโพสต์-พังก์ ทางด้านดนตรีมักจะเป็นดนตรีทดลอง เหมือนวงแนวนิวเวฟ ลักษณะแนวเพลงนิวเวฟจะมีลักษณะไม่ค่อยจะเป็นเพลงป็อป ดูหม่นๆ ดูกัดกร่อน ในบางครั้งจะไม่มีท่วงทำนอง และได้รับอิทธิพลจากดนตรีอาร์ทร็อกอย่าง แคปเทน บีฟฮาร์ท และ เดวิด โบวี เป็นต้น ในทางเนื้อเพลงจะเป็นการเขียนเนื้อเพลงแบบใหม่
     วงอย่าง นิว ออร์เดอร์ และ ยูทู ที่ดังข้ามไปฝั่งอเมริกาสู่กระแสหลัก แต่บางวงก็ดังในกลุ่มเล็กอย่าง แกงก์ ออฟ โฟร์ และ เดอะ เรนโคทส์ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ดีแนวเพลงได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในวัฒนธรรมเพลงป็อปด้วย

ฮาร์ดคอร์พังก์

     ฮาร์ดคอร์พังก์มีลักษณะถึงความเร็ว จังหวะที่ก้าวร้าว และมักพูดถึงเรื่องการเมือง ถูกพัฒนาช่วงปลายทศวรรษที่ 70 ในสหรัฐอเมิรกา นักเขียนชื่อ สตีเวน บลุช กล่าวว่า "ฮาร์ดคอร์พังก์เริ่มมาจากแถบชานเมืองอันเงียบเหงาในอเมริกา ผู้ปกครองที่ได้ย้ายเด็กออกจากเมืองใหญ่สู่ชานเมืองนี้ ได้ทำให้เห็นถึงความเป็นจริงของเมืองและก็สุดท้ายก็จบลงด้วยปีศาจพันธุ์ใหม่ นี้"
ฮาร์ดคอร์พังก์เกิดขึ้นแถบทางใต้ของแคลิฟอรืเนียในช่วงปี 1978–79 ตามมาด้วยวอชิงตัน ดีซี และแพร่ขยายไปทั่วอเมริกาเหนือและทั่วโลก
ใน ช่วงแรกวงแรกๆมี แบล็ค แฟลก และ มิดเดิล คลาส ,แบด เบรนส์ และ ทีน ไอดอลส์ ก็ได้เกิดขึ้นแทบ วอชิงตัน ดีซี วงบางวงอย่าง เดด เคนเนดีส์ได้เปลี่ยนมาเป็นฮาร์ดคอร์พังก์ ส่วนในนิวยอร์กแนวนี้เริ่มเกิดขึ้นในปี 1981 โดยการนำอย่างวง แอกนอสติก ฟรอนต์,เดอะ โคร-แม็กส์,เมอร์ฟีส์ ลอว์ และ ยูธ ออฟ ทูเดย์
เนื้อเพลงของวง เดด เคนเนดีส์ในเพลง Holiday in Cambodia แสดงให้เห็นการวิจารณ์สังคมการค้าและค่านิยมของชนชั้นกลาง
ช่วง ต้นยุค 80 วงทางตะวันตกเฉียงใต้ของอเมริกาและแคลิฟอร์เนียอย่างวง เจเอฟเอ,เอเจนต์ ออเรนจ์ และ เดอะ แฟกชัน ได้สร้างทิศทางดนตรีใหม่ให้กับฮาร์ดคอร์พังก์ในแนวใหม่ เรียกว่า สเกตพังก์






  • Oi!

    ปกอัลบั้มวงเดอะ โฟร์-สกินส์ ชุด The Good, The Bad & The 4-Skins
     ตามกระแสวงพังก์ยุคแรกในสหราชอาณาจักร อย่างวง ค็อค สปาร์เรอร์และ แชม69 ในช่วงปลายทศวรรษที่ 70 คลื่นลูกต่อมาอย่าง ค็อคนีย์ รีเจคส์ ,แอนเจลิก อับสตาร์ทส์ ,เดอะ เอกซ์พลอยด์ และ เดอะ โฟร์-สกินส์ ได้หาสิ่งใหม่ๆ ให้กับชนชั้นกรรมาชีพ
     วงเหล่านี้มักเรียกว่า รีลพังก์ หรือ สตรีทพังก์ แกรี บัชเชล ได้อธิบายแนวเพลง Oi! ว่า "แนวนี้ได้มาจากวง เดอะ ค็อคนีย์ รีเจคส์ ที่มักจะตะโกนว่า "Oi! Oi! Oi!" ก่อนที่จะเล่นเพลง แทนที่คำว่า "1,2,3,4!" ส่วนเนื้อเพลงจะสะท้อนให้เห็นความแข็งกร้าว หยาบคาย แสดงสภาพความเป็นจริงในยุคมาร์กาเร็ต แธ็ตเชอร์ ในสหราชอาณาจักรช่วงปลายทศวรรษที่ 70 ถึงต้นทศวรรษที่ 80
กระแส ของ Oi! ถูกกระตุ้นโดยกระแสพังก์ในช่วงนั้น สตีฟ เคนต์นักกีตาร์มืออาชีพกล่าวว่า "พวกเด็กมหาวิทยาลัยมักจะใช้คำยาวๆ ในการแต่งเพลง และพยายามทำตัวเองให้เป็นศิลปิน" ข้อบัญญัติอย่างนึงของ Oi!คือ ต้องไม่เสแสร้งและเข้าถึงได้ และ Oi! คือความเป็นจริงของพังก์ ที่ที่วงพวกนี้ได้เกิดขึ้น มันโหดร้ายและก้าวร้าวมาก
     วง Oi! ในช่วงแรกจะไม่สนใจเรื่องการเมือง อย่างไรก็ตาม วง Oi! หลายวงเริ่มที่จะสนใจสกินเฮดแบบนาซี ถึงแม้วงหลายวงจะไม่ได้สนับสนุนนาซีก็ตาม บางครั้งกลุ่มสกินเฮดที่เหยียดสีผิวจะเข้ามาขัดขวางการแสดงคอนเสิร์ตของพวก Oi! โดยจะตะโกนคำขวัญของลัทธิฟาสซิสท์ และพยายามก่อความวุ่นวาย วง Oi! หลายวงได้ต่อต้านกับแฟนๆการเข้าถึงของกลุ่มคนชั้นกลาง
เมื่อ วันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1981 ในคอนเสิร์ตในเซาธ์ฮอล ที่มีวงอย่าง เดอะ บีซิเนส,เดอะ โฟร์-สกินส์ และ เดอะ ลาสต์ รีสอร์ต ถูกลอบวางระเบิดโดยกลุ่มเด็กวัยรุ่นชาวเอเชีย เพราะความเข้าใจผิดว่าเป็นงานของนีโอนาซี หลังจากนั้นสื่อมวลชนได้ลงข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์ครั้งนี้เกี่ยวกับความถูก ต้อง และเพลงแนว Oi! ก็ได้ลดความนิยมไป

อะนาร์โค-พังก์

     อะนาร์โค-พังก์ (Anarcho-Punk) มาจากคำสองคำ คือ อนาธิปไตย (Anarchism) (อนาธิปไตยหมายถึงแนวคิดการเมืองแบบไร้ผู้นำ) และ พังก์ (Punk) เป็นแนวดนตรีที่สร้างงานดนตรีโดยเสนอเนื้อหาเชิง อนาธิปไตย ซึ่งจริง ๆ แนวพังก์ร็อกก็เป็นแนวที่ต่อต้านระบอบแบบแผน และต่อต้านสังคมอนุรักษ์นิยมอยู่แล้ว
     อะนาร์โค-พังก์ได้พัฒนาไปพร้อมกับ Oi! และกระแสอเมริกันฮาร์ดคอร์ ด้วยรูปแบบดนตรีพังก์ดั้งเดิม ตรงไปตรงมามาก (การใช้คอร์ดน้อย เมโลดี้เรียบ ๆ ในแบบพังก์) และการร้องแบบตะโกนโวยวาย เช่นวงอย่าง คราส, ซับฮิวเมนส์,ฟลักซ์ ออฟ พิงค์ อินเดียนส์,คอนฟลิกต์,พอยสัน เกิร์ลส์ และ อะพอสเติลส์ พยายามที่จะเปลี่ยนพังก์ร็อกที่ใส่แนวคิดทางด้านอนาธิปไตยเข้าไป
     อะนาร์โค-พังก์ในยุคเริ่มนั้นเป็นการแสดงตัวตนและได้แสดงศิลปะอย่าง ชัดเจนนอกจากนี้ยังมีการสนับสนุนสโลแกน "DIY not EMI" (DIY = Do It Yourself) อันเป็นเหมือนการปฏิเสธค่ายใหญ่ และแสดงออกทางจุดยืนในการต่อต้านระบบทุนไป ในตัว โดยอาศัยเครือข่ายและระบบความสัมพันธ์เป็นหลักในการเผยแพร่งาน อะนาร์โค-พังก์ได้แพร่ขยายไปยังแนวพังก์ย่อยแนวอื่น อย่าง พอยสัน เกิร์ลส,คอนฟลิกต์ พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็นแนวฮาร์ดคอร์พังก์

ป็อปพังก์

    ด้วยความรักในวงเดอะ บีช บอยส์ และแนวบับเบิ้ลกัมป็อปในช่วงปลายทศวรรษที่ 60 วงเดอะ ราโมนส์ได้ปูทางไว้ที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในชื่อของ ป็อปพังก์ ในช่วงปลายทศวรรษที่ 70 วงจากสหราชอาณาจักรอย่าง บัซค็อกส์ และ ดิ อันเดอร์โทนส์ ได้รวมแนวเพลงป็อปเข้ากับเนื้อเพลงแบบพังก์ทีดูรวดเร็วและยุ่งเหยิง
     ช่วงต้นยุคทศวรรษที่ 80 วงฮาร์ดคอร์ร็อกแนวหน้าแถบแคลิฟอร์เนียใต้ได้ย้ำโดยทำเมโลดี้ที่สละสลวยมาก ขึ้นกว่าทั่วไป เอพิแทฟเรคคอร์ดสได้ค้นพบสมาชิกวงแบด รีลิเจียน ซึ่งต่อมาเป็นรากฐานให้กับวงป็อปพังก์หลายๆวง รวมถึง โนเอฟเอกซ์ ที่ได้รับอิทธิพลจากสกา และจังหวะของสเก็ตพังก์ ส่วนวงที่เชื่อมพังก์ร็อกด้วยเมโลดี้แบบป็อป เช่นวงเดอะ เควียร์ และ สครีชชิง วีเซล ได้กระจายทั่วประเทศ วงอย่างกรีน เดย์ ได้นำกระแสป็อปพังก์สู่กระแสหลัก และมีวงอย่างเดอะ แวนดาลส์ และ กัตเตอร์เมาธ์ ได้พัฒนาโดยรวมเมโลดี้แบบป็อปกับความตลกขบขันและก้าวร้าวด้วยกัน

พังก์ยุคใหม่

อัลเทอร์เนทีฟร็อก


โซนิก ยูธในปี 2005

     วงพังก์ร็อก ใต้ดินเกิดขึ้นมาด้วยนับไม่ถ้วน ทั้งเกิดขึ้นมาโดยซาวด์ดนตรีแบบพังก์และได้ประยุกต์ในเจตนารมณ์ของ DIY สู่ความแตกต่างหลากหลายของดนตรี จนกระทั่งต้นยุคทศวรรษที่ 80 วงในสหราชอาณาจักรอย่างนิว ออร์เดอร์ และ เดอะ เคียวร์ (The Cure) ได้พัฒนาดนตรีรูปแบบใหม่โดยยึดหลักจากแนวโพสต์พังก์และนิวเวฟ ส่วนในอเมริกาวงอย่าง Hüsker Dü และวงที่ตามมาอย่าง เดอะ รีเพลซเม็นต์ส ได้เชื่อมช่องว่างระหว่างแนวพังก์อย่างฮาร์ดคอร์และดนตรีที่ตอนนั้นเรียกว่า คอลเลจร็อก
ในปี 1985 นิตยสารโรลลิ่งสโตนได้เขียนเกี่ยวกับวงอย่าง แบล็ค แฟล็ก,Hüsker Dü,มินิทเม็น และเดอะ รีเพลซเม็นต์ส ว่า "วงพังก์ดั้งเดิมได้ผ่านไปแล้ว วงพังก์ร็อกอเมริกันที่ดีที่สุดได้เข้ามาแทน พวกเขาได้รู้จักว่าการเล่นดนตรีเป็นอย่างไร และได้ค้นพบเมโลดี้ การโซโล่กีตาร์ และเนื้อเพลงที่มีอะไรมากไปกว่าการตะโกนคำขวัญทางการเมือง" โดยช่วงสิ้นสุดทศวรรษที่ 80 วงเหล่านี้ได้แปลเปลี่ยนมาเป็นอัลเทอร์เนทีฟร็อก โดยอัลเทอร์เนทีฟร็อกได้รวมความหลากหลายของสไตล์ อย่าง อินดี้ร็อก ,กอธิกร็อก,กรันจ์ และอื่นๆ ทำให้เป็นหนึ่งเดียวกันโดยอยู่ในต้นแบบของพังก์ร็อกสู่กระแสนิยมทางด้าน ดนตรี
     วงอัลเทอร์เนทีฟอย่าง โซนิก ยูธ ที่ได้โตขึ้นจากแนวโนเวฟ และวงจากบอสตันอย่างพิกซี่ ได้เริ่มมีกลุ่มคนฟังที่กว้างขวางขึ้น ในปี 1991 วงเนอร์วาน่าได้ เกิดขึ้นในกระแสของเพลงแนวกรันจ์ และได้ประสบความสำเร็จทางด้านธุรกิจกับอัลบั้มที่ 2 ของพวกเขา Nevermind เนอร์วาน่าได้สดุดีว่าพังก์เป็นอิทธิพลสำคัญของดนตรีพวกเขา เคิร์ท โคเบนนักร้องนำวงเนอร์วาน่าได้เขียนไว้ว่า "พังก์คือดนตรีที่อิสระ มันพูด กระทำ และเล่นในสิ่งที่คุณต้องการ" การประสบความสำเร็จขอวงเนอร์วาน่าได้เป็นตัวกระตุ้นให้กระแสอัลเทอร์เนที ฟร็อกดังขึ้นมา และได้เป็นส่วนหนึ่งของแนวดนตรีที่ได้รับความนิยมในทศวรรษที่ 90 ด้วย

เควียร์คอร์และ riot grrrl

     ในทศวรรษที่ 90 วงพังก์บางวงมีสมาชิกเป็นเกย์ อย่างเช่น ฟิฟธ์ คอลัมน์,ก็อด อีส มาย โค-ไพล็อต,แพนซี ดิวิชัน,ทีม เดร็ช และ ซิสเตอร์ จอร์จ พวกเขาได้พัฒนาเพลงแนวเควียร์คอร์ ถึงแม้ว่าจะมีต้นกำเนิดมาจากพังก์ แต่ก็แพร่ขยายไปในแนวดนตรีที่หลากหลาย อย่างฮาร์ดคอร์ ,อินดี้ร็อก,พาวเวอร์ป็อป,โนเวฟ,น็อยส์ ,เอกซ์เพอริเม็นทอล และ อินดัสเทรียล เนื้อเพลงของเควียร์คอร์ มักจะเกี่ยวกับ ความอคติ,อัตลักษณ์ทางเพศ,สิทธิส่วนบุคคล โดยอาจกล่าวทั้งในทางขบขันหรือกิริยาท่าทางที่จริงจัง
ในปี 1991 คอนเสิร์ต Love Rock Revolution Girl Style Now ที่จัดขึ้นในโอลิมเปีย,วอชิงตัน ได้ประกาศการเกิดขึ้นของเพลงแนว riot grrrl ศิลปินที่มาร่วมงาน รวมถึงวงหลายวงที่มีผู้หญิงเป็นแกนนำอย่าง บิกินิ คิลล์,แบรตโมบายล์ และ เฮฟเวนส์ ทู เบ็ตซี
     นักร้องนำวงบิกินิ คิลล์ ชื่อแคธลีน ฮานนา เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของเพลงแนว riot grrrl ซึ่งต่อมาได้เข้าทำงานในแนวอีเลคโทรอาร์ตพังก์กับวง เลอ ทิกร์ ส่วนมือกีตาร์วงเฮฟเวนส์ ทู เบ็ตซี ชื่อ โคริน ทักเกอร์ และ แคร์รีย์ บราวสไตน์ จากวง เอกซ์คิวส์ 17 ต่อมาทั้งคู่ได้ร่วมกันตั้งวงอินดี้ร็อก/พังก์ ชื่อ สลีทเทอร์-คินนีย์

อีโม

     คำว่าอีโมได้ เคยถูกอธิบายเป็นหนึ่งในแนวย่อยของฮาร์ดคอร์พังก์ ที่มีต้นกำเนิดในวอชิงตันดีซีในช่วงกลางทศวรรษที่ 80 คำว่าอีโมมีที่มาจากข้อเท็จจริงที่สมาชิกในวง บางครั้งจะใส่อารมณ์ (emotional) ในการแสดง สังเกตได้จากวงอีโมในยุคแรกๆอย่าง ไรตส์ ออฟ สปริง,เอ็มเบลซ และ วัน ลาสต์ วิช คำว่า อีโม ย่อมาจาก Emotional Hardcore เน้นการแสดงสดที่เน้นถึงอารมณ์และความรู้สึก แต่แตกต่างจากฮาร์ดคอร์ เนื่องจาก เนื้อหาในสัดส่วนของอีโมร็อกนั้น เน้นสำรวจความรู้สึกภายในจิตใจของตัวเอง มากกว่าวนเวียนก่นด่าถึงสิ่งที่อยู่รอบข้างตัวเอง โดยในช่วงทศวรรษที่ 90 มีวงอีโมเกิดขึ้นมาโดยเฉพาะจากย่านมิดเวสต์หลายวง ไม่ว่าจะเป็น เดอะ เก็ต อัพ และ จิมมี อีท เวิลด์ ที่ได้รับอิทธิพลมาแบบเต็มๆ จากวงรุ่นพี่อย่าง ฟูกาซิ
     วงอย่าง ซันนี่ เดย์ เรียล เอ็สเตต และ เท็กซัส อีส เดอะ รีซัน ได้แสดงเพลงอินดี้ร็อกในรูปแบบของอีโม ที่มีรูปแบบเพลงที่เป็นเมโลดี้มากขึ้น และลดความยุ่งเหยิงลงกว่าอีโมก่อนหน้านี้ วงแอนทอยช์ แอรโรว์ เล่นเพลงอีโมที่รุนแรงขึ้น ที่ต่อมารู้จักกันในชื่อ "สครีโม่" แฟนเพลงอันเดอร์กราวด์หลายคนอ้างว่าวงอีโมในปัจจุบันแทบไม่มีคุณสมบัติของ พังก์เลย

พังก์รีไววัล

ดิ ออฟสปริง ปี 2001
     ในยุคเดียวกับเนอร์วาน่า วงอัลเทอร์เนทีฟร็อกหลายวงในช่วงต้นทศวรรษที่ 90 ได้ตอบรับกระแสพังก์ ได้ช่วยให้พังก์ร็อกได้ฟื้นคืนชีพ ในปี 1994 วงพังก์ร็อกจากแคลิฟอร์เนียอย่าง กรีน เดย์ ,ดิ ออฟสปริง,แรนซิด และ แบด รีลิเจียน เป็นตัวสำคัญของความสำเร็จด้วยการช่วยเหลือจากเอ็มทีวีและสถานีวิทยุที่โด่ง ดังอย่าง KROQ-FM ถึงแม้ว่ากรีน เดย์และแบด รีลิเจียนจะอยู่ในสังกัดค่ายเพลงใหญ่ก็ตาม การประสบความสำเร็จทางธุรกิจอย่างมากของกรีน เดย์และดิ ออฟสปริง ได้ปูทางให้ศิลปินแนวป็อปพังก์อย่างวง บลิงก์-182,ซิมเปิล แพลน,กู้ด ชาร์ล็อตต์ และ ซัม 41
     วงจากบอสตัน ไมตี้ ไมตี้ บอสสโตนส์ และวงแนวสกาพังก์จากแคลิฟอร์เนีย วงซับไลม์ ได้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในช่วงปลายทศวรรษที่ 90 ซึ่งต่อมาวงสกาพังก์อย่าง รีล บิ๊ก ฟิช และ เลส เดน เจค ก็ได้ได้การตอบรับที่ดีจากแฟนเพลงในยุค 2000 วงอื่นที่มีรากมาจากฮาร์คอร์พังก์ อย่าง เอเอฟไอ มีเพลงขึ้นชาร์ทในยุค 2000 วงเคลติกพังก์ อย่างวง ฟล็อกกิง มอลลี และ ดร็อปคิก เมอร์ฟีส์ ได้รวมแนวเพลง Oi! เข้าไปด้วย
     การเกิดใหม่ของพังก์เห็นได้ชัดว่า ว่ากลุ่มคนที่ฟังพังก์ได้เข้าสู่กระแสหลัก ซึ่งก็มีแฟนเพลงพังก์หลายคนได้ต่อต้านการเกิดเช่นนี้ อย่างความโด่งดังของวง ซัม 41 และ บลิงก์-182

พังก์ในประเทศไทย

     ในช่วงที่วงเซ็กซ์ พิสทอลส์ได้เข้าสู่กระแสนิยมหลักทั่วโลก เพลงร็อกในประเทศไทยนิยมเพลงแนวโปรเกรสซีฟ เพลงแบบบุปผาชน หรือเพลงฮาร์ดร็อกอย่าง แบล็ค แซบบาธ, เล็ด แซพพลิน
ต่อ มากระแสพังก์ในประเทศไทยเกิดตอนปลายยุคทศวรรษที่ 80 มีการเกิดของรายการเพลง เรดิโอ แอคทีฟ โดยไนต์สปอต เข้ามาปฏิวัติด้วยที่ไม่เปิดเพลงร็อกเก่าๆ และเพลงป็อปตลาด โดยการนำของวาสนา วีระชาติพลี ดีเจชื่อดัง ดนตรีแนวพังก์เริ่มเป็นที่รู้จักในเมืองไทยจริงๆเมื่อกลางยุคทศวรรษที่ 90 หรือช่วงที่ดนตรีแนวอัลเทอร์เนทีฟดังมากในประเทศไทย อย่างวง แมนิค สตรีท พรีชเชอร์ส ที่เคยมาแสดงคอนเสิร์ตในประเทศไทยแล้ว เป็นต้น
      ส่วนวงดนตรีพังก์ร็อกในประเทศไทย เช่นวงเอบี นอร์มอล, มังกี้ แพ้นส์, ซิก ไชด์, หมีน้อย และ สติวเดนต์อั๊กลี่ นอกจากนั้นยังมีวงอีโมพังก์อย่างวงไรทาลิน ของค่ายมิวสิกบั๊กส์

กอสเปล

Gospel music
แนวเพลงแม่แบบ: Christian hymns,
Negro spirituals
แหล่งกำเนิดแนวเพลง: ช่วงแรกศตวรรษที่ 20 ในสหรัฐอเมริกา
เครื่องดนตรี: เสียงร้อง, เปียโน, Hammond organ, กีตาร์ไฟฟ้า, กลอง, และ กีตาร์เบส
กระแสความนิยม:
แนวเพลงที่ได้รับอิทธิพล: อาร์แอนด์บี
แนวเพลงผสม
คริสเตียนคันทรี
กอสเปล (อังกฤษ: Gospel music) คือแนวเพลงที่เน้นเสียงร้องเป็นหลัก กอสเปลจะมีลักษณะการร้องประสานเสียง การร้องเฉลิมฉลอง และใส่ความเชื่อทางศาสนาในเนื้อร้อง โดยกอสเปลได้ซึมเข้าไปดนตรีหลายๆประเภทอย่าง ดู-ว็อป ,คันทรี-กอสเปล,contemporary gospel, urban contemporary gospel,Modern Gospel music
กอสเปลเชื่อว่ามีที่มาจากโบสถ์ชาวแอฟริกัน-อเมริกัน ตอนต้นศตวรรษที่ 20 นักร้องชื่อดังแนวกอสเปล Sister Rosetta Tharpe มีเพลงขึ้นในชาร์ทในปี 1938 ทุกวันนี้กอสเปลได้แตกแยกย่อยเป็นหลายๆแนว ปลายยุค 70 Contemporary Christian Music คือเพลงซอฟท์ร็อกประเภท นึงได้เข้าสู่ดนตรีกระแสหลัก จนมาถึงยุค 80 และ 90 เพลง Contemporary Christian Music ก็ยังอยู่ได้รับความนิยมเพียงแต่มีเนื้อหาเกี่ยวกับศาสนา

แนวเพลงย่อยของกอสเปล

  • urban contemporary gospel
  • Christian country music
  • Southern Gospel
  • Progressive Southern Gospel

เพลงป็อปที่มีการร้องประสานเสียงแบบกอสเปล

  • "Tender" โดย เบลอ
  • "Under the Bridge" โดย เรด ฮ็อท ชิลี เป็ปเปอร์ส
  • "All These Things That I've Done" โดย เดอะ คิลเล่อร์ส
  • "Cry Me A River" โดย จัสติน ทิมเบอร์เลค
  • "I Want to Know What Love Is" โดย ฟอเรนจ์เนอร์
  • "Will You Be There" โดย ไมเคิล แจ็คสัน
  • "Purple Rain" โดย พรินส์
  • "Like a Prayer" โดย มาดอนน่า
  • "Somebody to Love" โดย ควีน
  • "River of Dreams" โดย บิลลี โจเอล
  • "Make Me Wanna Pray" โดย คริสติน่า อากีเลร่า
  • "Fly Like A Bird" โดย มารายห์ แครี่
ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.wikipedia.org/

iFLoWeRs.iGothicGirl

No comments:

Post a Comment